Bitget App
เทรดอย่างชาญฉลาดกว่าที่เคย
ซื้อคริปโตตลาดเทรดFuturesCopyบอทเทรดEarn
รายการลิสต์ใหม่
ศัพท์การเทรดคริปโตสำหรับมือใหม่

ศัพท์การเทรดคริปโตสำหรับมือใหม่

มือใหม่
2023-05-25 | 5m

การเทรด คริปโทเคอร์เรนซีอาจดูเป็นเรื่องน่าสับสนสำหรับนักลงทุนมือใหม่หลายๆ คน แม้ว่านักลงทุนมืออาชีพอาจจะไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น แต่ถ้าหากเราถามถึงวันแรกที่พวกเขาเข้ามาในแวดวงการเทรดล่ะก็ หลายๆ คนอาจลังเลหรือขอกลับคำพูดก็เป็นได้ แต่ไม่ต้องกังวลไป การลงทุนในคริปโตไม่ได้ยากขนาดนั้น เพราะเราจะทำให้มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ เริ่มกันที่คำศัพท์ต่อไปนี้เพื่อช่วยให้เส้นทางการเทรดคริปโตของคุณเป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ไปดูกันเลย!

สามารถดูศัพท์เกี่ยวกับ บล็อกเชนเพิ่มเติมได้ที่นี่

A

Arbitrage

การเทรดคริปโตแบบ Arbitrage คือ กลยุทธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายคริปโทเคอร์เรนซี และทำกำไรจากความต่างของราคาระหว่างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่มีการเทรดคริปโทเคอร์เรนซีนั้นๆ อยู่

All Time High (ATH) / All Time Low (ATL)

ราคาสูงสุดและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง

Ask Price (ราคาเสนอขาย)

ราคาเสนอขาย คือ ราคาที่ผู้ใช้หรือนักเทรดยินดีที่จะขายสินทรัพย์

Average Directional Index (ADX)

ADX ถูกใช้ในการวัดความแข็งแกร่งของเทรนด์ ไม่ว่าเทรนด์นั้นจะเป็นไปในทิศทางใดก็ตาม

Accumulation/Distribution Line

Accumulation/Distribution (A/D) Line จะคอยวัดจุดที่เกิดราคาปิดภายในช่วงเวลาหนึ่ง และนำตัวเลขนั้นมาคูณด้วยปริมาณ เพื่อกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ อินดิเคเตอร์ A/D เป็นแบบ “Cumulative (สะสม)” มูลค่าจึงอาจเพิ่มเข้าสู่หรือถูกหักออกจากมูลค่าในช่วงราคาก่อนหน้า



B

Bid Price (ราคาเสนอซื้อ)

ราคาเสนอซื้อ คือ ราคาที่ผู้ใช้หรือนักเทรดยินดีที่จะซื้อสินทรัพย์



Bull Market (ตลาดกระทิง)

ตลาดกระทิงเป็นช่วงเวลาที่ราคาตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้นและการรับรู้ของสาธารณชนเป็นไปในเชิงบวก

Bear Market (ตลาดหมี)

ตลาดหมีเป็นตลาดที่ตรงข้ามกับตลาดกระทิง โดยตลาดหมีจะเป็นช่วงเวลาที่ความคาดหวังของตลาดเป็นไปในเชิงลบ เนื่องจากราคาในตลาดมีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน

Buy Order (Order ซื้อ) / Sell Order (Order ขาย)

Order ซื้อ หรือที่รู้จักกันในคำว่า “Bid (ซื้อ)” เป็น Order ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อผู้ใช้ต้องการซื้อสินทรัพย์ ณ จุดราคาหนึ่ง และในทำนองเดียวกันหากผู้ใช้ต้องการขายสินทรัพย์ ณ จุดราคาหนึ่ง พวกเขาก็สามารถทำได้โดยวาง Order ขาย หรือที่รู้จักกันในคำว่า “Ask (ขาย)”

Buy The Fucking Dip (BTFD)

ความผันผวนของคริปโทเคอร์เรนซีเป็นข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของสินทรัพย์นี้ เนื่องจากมูลค่าของคริปโตผันผวนอยู่บ่อยครั้ง มูลค่าของมันจึงปรับขึ้นลงระหว่างราคาสูงสุดและต่ำสุดอยู่เสมอ กลยุทธ์ BTFD หรือ Buy The Fucking Dip จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับนักลงทุนคริปโตที่ขาดความรอบคอบ เพราะกลยุทธ์นี้เกี่ยวข้องกับการเข้าซื้อทุกครั้งที่ราคาของคริปโทเคอร์เรนซีลดต่ำลง ซึ่งทำไปภายใต้เป้าหมายเดียว คือ เพิ่มจำนวนคริปโตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพียงหวังว่าจะสร้างผลกำไรให้ได้ในปริมาณมากในอนาคต

BUIDL

BUIDL คือ ศัพท์เทคนิคเช่นเดียวกับ “HODL” โดย BUIDL หมายถึงแนวทางการลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี ที่นักลงทุนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับระบบนิเวศในปัจจุบัน แม้ว่า BUIDL จะไม่เป็นที่รู้จักมากเท่า HODL แต่ก็มีการนำเข้ามาปรับใช้บ่อยครั้งโดยกลุ่มคนในโลกคริปโต

C

Copy Trading

Copy Trading คือ แนวปฏิบัติของนักลงทุนในการเปิด Position ในตลาด Futures ในลักษณะเดียวกันกับนักลงทุนรายอื่น (มักจะเป็นนักเทรดมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญ)

Crypto Portfolio (พอร์ตคริปโต)

คอลเลกชันคริปโทเคอร์เรนซีของนักเทรดหรือนักลงทุนจะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “พอร์ตคริปโต” โดย Altcoin และผลิตภัณฑ์ทางการเงินคริปโตมักจะรวมอยู่ในพอร์ตคริปโตร่วมกับสินทรัพย์อื่นๆ อีกหลากหลายรายการ

Candlestick Chart (กราฟแท่งเทียน)

กราฟแท่งเทียน คือ ชุดของแท่งเทียนที่นักเทรดใช้ในการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาในตลาด

Centralized Crypto Exchange ( แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตแบบรวมศูนย์)

Centralized (รวมศูนย์) หมายถึงแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตที่สร้างขึ้นและดำเนินการโดยองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเหล่านี้ถูกมองว่ามีความ “รวมศูนย์” เนื่องจากองค์กรเพียงองค์กรเดียวเป็นฝ่ายควบคุมธุรกรรมทั้งหมด รวมถึงกำหนดหลักการใช้งานและค่าธรรมเนียมของการแลกเปลี่ยนด้วย ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Bitget

Correlation (ความสัมพันธ์)

ข้อมูลทางสถิติที่เรียกว่า “ความสัมพันธ์” ถูกใช้เพื่อแสดงทิศทางและความเหนียวแน่นของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด โดยข้อมูลทั้ง 2 ชุดนี้มักจะเป็นราคาของสินทรัพย์ทางการเงิน 2 ประเภท เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน ดัชนีตลาด หรือคริปโทเคอร์เรนซี

Coin-Margined Futures

ประเภทของอนุพันธ์ที่รู้จักกันในชื่อ “COIN-Margined Contract (สัญญา COIN-Margined)” จะมีมูลค่าตามคริปโทเคอร์เรนซีอ้างอิงของสัญญานั้นๆ ตราสารทางการเงินเหล่านี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้สัมผัสการใช้งานคริปโทเคอร์เรนซีโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริงๆ แต่อย่างใด

D

Do Your Own Research (DYOR)

“Do Your Own Research” เป็นวลีที่อินฟลูเอนเซอร์สายคริปโทเคอร์เรนซีใช้เพื่อเตือนนักลงทุนรายต่างๆ ว่าไม่มีใครหรือสิ่งใดที่จะสามารถประเมินข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ได้ดีไปกว่าการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเอง สิ่งสำคัญที่ควรจำเอาไว้เสมอ คือ อินฟลูเอนเซอร์ด้านคริปโทเคอร์เรนซีและสื่อต่างๆ อาจมีแรงจูงใจและจุดประสงค์ที่ต่างออกไปจากที่คุณคิดได้

Day Trading

Day Trading ในสินทรัพย์ทางการเงิน คือ หลักปฏิบัติในการซื้อและขายตราสารทางการเงินภายในวันเทรดเดียวกัน

Dollar-Cost Averaging หรือ DCA (การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน)

ไม่ว่าราคาสินทรัพย์จะเท่าไรก็ตาม Dollar-Cost Averaging (การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน) จะลงทุนในสินทรัพย์เป้าหมายในปริมาณเท่าเดิม โดยเว้นระยะห่างในการลงทุนเท่าเดิมเสมอ (แบ่งเป็นงวด) ภายในช่วงเวลาตามที่กำหนดเอาไว้ นักลงทุนสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยต่อผลตอบแทนที่ได้ และลดผลกระทบจากความผันผวนในพอร์ตได้โดยใช้หลักการ Dollar-Cost Averaging (การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน)

E

ERC-20

ERC-20 คือ มาตรฐานสำหรับโทเค็นคริปโตที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด และใช้บนเครือข่าย Ethereum มาตรฐานนี้ช่วยให้นักพัฒนาสร้างสกุลเงินดิจิทัลที่เข้ากันได้กับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีอยู่แล้วได้ในทันที

ERC-721

ERC-721 คือ มาตรฐานสำหรับ Non-Fungible Token (NFT) ของเครือข่าย Ethereum ที่ช่วยให้การสร้าง Non-Fungible Token (NFT) ที่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถปลอมแปลงได้เกิดขึ้นได้ มาตรฐานนี้สามารถใช้ในการสร้างโทเค็นจากสิ่งของบนโลกจริงที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร หรือใช้ในการสร้างของสะสมดิจิทัลและไอเท็มเกมได้อีกด้วย

Ethereum Virtual Machine (EVM)

Ethereum Virtual Machine หรือ EVM อาจเรียกได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ทำงานบนบล็อกเชน EVM ทำหน้าที่เสมือนกับระบบปฏิบัติการให้แก่โปรแกรมเมอร์ เพื่อสร้างแอปที่มีคุณสมบัติกระจายศูนย์และไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจ (Trustless) ให้กับเครือข่าย Ethereum

F

Fiat

เงิน Fiat คือ เงินที่อยู่ในระบบนิเวศทางการเงินดั้งเดิม ยูโร (Euro) และดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar) คือตัวอย่างของสกุลเงิน Fiat การใช้สกุลเงิน Fiat ในโลกของบล็อกเชน มักจะเกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินทรัพย์ของคุณให้กับหน่วยงานส่วนกลางที่ทำงานในลักษณะรวมศูนย์

Fear of Missing Out (FOMO)

Fear of Missing Out (FOMO) เป็นความวิตกกังวลทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการรับรู้ว่าคนอื่นกำลังสนุกสนานหรือได้รับประโยชน์จากกิจกรรมใดๆ ในขณะที่ตนเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น ในตลาดคริปโต วลีนี้มักจะหมายถึงการเฝ้ามองโทเค็นที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของกำลังมีราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

FUD

Fear, Uncertainty, Doubt (ความกลัว ความลังเล ความสงสัย) มักหมายถึงข้อมูลที่มีแนวโน้มจะนำไปสู่การมองตลาดในแง่ร้าย

Fundamental Analysis หรือ FA (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน)

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ หลักการวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์และคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต ในบริบทของโปรเจกต์คริปโต การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น มูลค่าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ ทีมงานเบื้องหลังโปรเจกต์ โมเดลการกระจายโทเค็นและการนำไปใช้งาน เป็นต้น

Futures Trading (การ เทรด Futures)

การเทรด Futures คือ วิธีการเก็งกำไรในมูลค่าของสินทรัพย์ เช่น คริปโทเคอร์เรนซี โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์จริงๆ Futures ของคริปโทเคอร์เรนซี เช่น Futures ของสินค้าโภคภัณฑ์หรือหุ้น จะทำให้นักเทรดเก็งกำไรจากมูลค่าในอนาคตของสกุลเงินดิจิทัลได้

G

Grid Trading (การเทรด Grid)

การเทรด Grid คือ กระบวนการวาง Order ในจุดราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ส่งผลให้ Grid ของ Order ต่างๆ มีราคาเพิ่มขึ้นและลดลงทีละน้อยจากราคาที่กำหนดไว้ในตอนต้น โดยตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการเทรด Grid

H

High/Low (สูงสุด/ต่ำสุด)

ในช่วงเวลาเทรด 24 ชั่วโมง “High” หมายถึงราคาสูงสุดของ Bitcoin หรือสินทรัพย์อื่นๆ ภายในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในขณะที่ “Low” หมายถึงราคาต่ำสุดของสินทรัพย์นั้นๆ ภายในช่วงเวลาเทรด 24 ชั่วโมง

Halving

การ Halving แต่ละครั้งจะทำให้รางวัลบล็อกสำหรับการขุด Bitcoin ลดลง 50% โดย Halving จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขุดบล็อกขึ้นมาใหม่ครบ 210,000 บล็อก ซึ่งโดยประมาณแล้วการ Halving จะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี เครือข่าย Bitcoin เริ่มต้นจากรางวัลบล็อก 50 BTC และในปัจจุบันอยู่ที่ 6.25 BTC ต่อบล็อกหลังจากเกิดการ Halving มาแล้ว 3 ครั้ง

HODL

HODL หมายถึงพฤติกรรมการไม่ขายคริปโต ซึ่งมักจะเป็นการต่อต้านเทรนด์ตลาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในการ HODL ผู้ใช้พยายามที่จะสังเกตและจำแนกระหว่าง “ผู้อ่อนแอ” ที่ตัดสินใจขายตั้งแต่เห็นสัญญาณการปรับตัวลงของราคาเป็นครั้งแรก และ “ผู้ชาญฉลาด” ที่สามารถคาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำ ส่วนตรงกลางระหว่างคน 2 ประเภทนั้นก็คือนักเทรดทั่วไปที่เลือก HODL นั่นเอง

I

Impermanent Loss

“ค่าเสียโอกาส” น่าจะเป็นคำที่อธิบายที่ดีที่สุดสำหรับ “Impermanent Loss” โดย Impermanent Loss จะเกิดขึ้นเมื่อคุณให้ สภาพคล่องแก่ Pool ใด Pool หนึ่ง แล้วมูลค่าสินทรัพย์ของคุณใน Pool ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป



K

K-Line

K-Line แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นรายวัน ซึ่งนอกจากจะแสดงราคาปิด ราคาเปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุดประจำวันนั้นแล้ว ยังแสดงให้เห็นขนาดความแตกต่างของราคาอีกด้วย



KDJ Indicator (อินดิเคเตอร์ KDJ)

Technical Indicator ที่ชื่อ “อินดิเคเตอร์ KDJ” ใช้เพื่อประเมินและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงเทรนด์ของหุ้นและรูปแบบราคาในสินทรัพย์ที่เทรด “ดัชนีแบบสุ่ม” เป็นอีกชื่อเรียกของอินดิเคเตอร์ KDJ โดยอินดิเคเตอร์นี้ถือว่าเป็น Technical Indicator ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง มักจะถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์เทรนด์หุ้นระยะสั้นและตลาดคริปโต

L

Linear Display (การแสดงข้อมูลเชิงเส้น)

สเกลราคาเชิงเส้นหรือที่เรียกว่า “Arithmetic” จะแสดงราคาบนแกน y โดยใช้ช่วงระยะห่างของราคาที่มีสัดส่วนเท่าๆ กัน

Ledger

Ledger คือ ฐานข้อมูลธุรกรรม โดย Ledger ในบริบทของคริปโทเคอร์เรนซีจะหมายถึงประวัติการทำธุรกรรมของคริปโทเคอร์เรนซีรายการใดรายการหนึ่งที่บันทึกไว้ในบล็อกเชน

Liquidity (สภาพคล่อง)

สภาพคล่องมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท โดยประเภทที่ 1 มักใช้เพื่ออธิบายถึงความสามารถของคริปโทเคอร์เรนซีในด้านการซื้อและขายได้อย่างอิสระ ส่วนประเภทที่ 2 คือการใช้เพื่อหมายถึงจำนวนคริปโทเคอร์เรนซีที่อยู่ใน Liquidity Pool ซึ่งพร้อมนำไปใช้ในการเทรดบนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Exchange) ได้

Limit Order

Limit Order คือ Order แลกเปลี่ยนเพื่อซื้อหรือขายสินทรัพย์ ณ ราคาที่กำหนดไว้หรือราคาที่ดีกว่า โดย Order ซื้อจะได้รับการดำเนินการที่ราคาเป้าหมายหรือต่ำกว่า และ Order ขายจะได้รับการดำเนินการที่ราคาเป้าหมายหรือสูงกว่า

M

Margin Trading ( การเทรด Margin)

การเทรด Margin คือ กลยุทธ์การเทรดแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสินทรัพย์ที่กู้ยืมมา เมื่อเปรียบเทียบกับการเทรดปกติแล้ว การเทรด Margin จะช่วยให้นักเทรดเพิ่มเลเวอเรจให้กับ Position และทำกำไรให้สูงที่สุดได้ ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน

Margin mode (โหมด Margin): Isolated Margin vs. Cross Margin

Cross Margin: เมื่อ Position ที่เปิดอยู่ 2 Position ใช้คริปโทเคอร์เรนซีที่ชำระราคาในสกุลเดียวกัน ทั้ง 2 Position นั้นจะต้องแบ่ง Margin ระหว่างกัน

และเพื่อหลีกเลี่ยง Liquidation (การบังคับขาย) Position อาจจำเป็นต้องเรียกใช้ Margin เพิ่มจากยอดคงเหลือทั้งหมดในบัญชีของคริปโทเคอร์เรนซีที่เกี่ยวข้อง

Isolated Margin: Margin ที่จัดสรรไว้ให้สำหรับ Position จะถูกจำกัดไว้ที่จำนวนหนึ่ง

Market Cap (มูลค่าตามราคาตลาด)

Market Cap หรือ Market Capitalization (มูลค่าตามราคาตลาด) มูลค่าทั้งหมดของสินทรัพย์และตลาดจะแสดงให้เห็นได้จากราคาของสินทรัพย์คูณด้วยอุปทานหมุนเวียน โดยมูลค่าตามราคาตลาดนี้มักใช้เพื่อประเมินความสำเร็จของโปรเจกต์

Mining Pool

Mining Pool คือ กลุ่มของนักขุดที่ได้รวมพลังการประมวลผลและการ Hash ไว้ด้วยกัน เพราะนักขุดในบล็อกเชนแบบ Proof-of-Work ต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นคนแรกที่สร้างบล็อกที่ถูกต้องได้สำเร็จ ดังนั้นการรวบรวมอุปกรณ์จากหลายๆ คนเข้าไว้ด้วยกันจึงทำให้ผู้เข้าร่วมใน Pool สามารถเพิ่มหรือกระจายกำไรจากการขุดของพวกเขาได้

Moving Averages หรือ MA (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่)

Moving Averages หรือ MA (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่) คือ อินดิเคเตอร์ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยอินดิเคเตอร์นี้จะสร้างราคาเฉลี่ยที่อัปเดตอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ข้อมูลการกำหนดราคาละเอียดยิ่งขึ้น หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ของสกุลเงินใดเพิ่มขึ้นแสดงว่าสกุลเงินนั้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ในขณะที่แนวโน้มขาลงจะแสดงโดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ที่ลดลง



MVRV Z-Score

MVRV Z-Score สำหรับ Bitcoin นั้นขึ้นอยู่กับมูลค่า 2 ประเภท คือ มูลค่าตลาด (ราคาหารด้วยปริมาณรวมของ Bitcoin) และมูลค่าจริง (มูลค่าที่แต่ละเหรียญถูกขายครั้งสุดท้าย) หลักการใช้งาน Z-score ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดเป็นเวลาที่เหมาะสมในการซื้อหรือขาย Bitcoin โดยพิจารณาว่า Bitcoin ถูกเทรดในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาจริงของเหรียญ

N



Network Fee (ค่าธรรมเนียมเครือข่าย)

เพื่อทำให้แน่ใจว่าธุรกรรมของคุณได้รับการดำเนินการบนเครือข่าย Bitcoin หรือ Ethereum คุณจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเครือข่าย โดยค่าธรรมเนียมนี้จะถูกใช้เป็นรางวัลให้กับผู้มีส่วนร่วมในเครือข่าย เช่น นักขุดและ Validator สำหรับการประมวลผลธุรกรรมและช่วยเหลือในด้านความปลอดภัยของเครือข่ายนั่นเอง

Network Value to Transaction Ratio (NVT Ratio)

อินดิเคเตอร์ NVT หรือ Network Value to Transaction (มูลค่าเครือข่ายต่อธุรกรรม) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการโอนและมูลค่าตามราคาตลาด โดยอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Price-to-Earnings (PE) Ratio” ของคริปโทเคอร์เรนซีก็ได้เช่นกัน

P

Paper Wallet

Paper Wallet คือ Wallet คริปโทเคอร์เรนซีที่ถูกเก็บไว้ในกระดาษ เป้าหมายของ Wallet นี้คือการเปิดเผย Private Key ให้น้อยที่สุด Paper Wallet ถือว่าเป็น “Cold Storage” ประเภทหนึ่งที่ Private Key ไม่สามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งเสี่ยงต่อการถูกแฮ็กหรือโจมตี ในปัจจุบัน Paper Wallet ได้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัยในการจัดเก็บคริปโทเคอร์เรนซี เนื่องจากต้องใช้งานเว็บไซต์แบบรวมศูนย์และ GUI (Graphical User Interface) ซึ่งไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการถูกโจมตีเช่นเดียวกับบริการแบบรวมศูนย์ประเภทอื่นๆ

R

Return on Investment หรือ ROI (ผลตอบแทนจากการลงทุน)

ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) คือ ตัวชี้วัดทางการเงินที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของการลงทุนในสินทรัพย์ สิ่งนี้จะทำหน้าที่เป็นมาตรวัดว่าการลงทุนของคุณมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมากเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไป



Relative Strength Index (RSI)

Relative Strength Index (RSI) คือ Momentum Indicator ที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือคริปโทเคอร์เรนซีเกิดภาวะ Overbought (ซื้อมากเกิน) หรือ Oversold (ขายมากเกิน) กล่าวสั้นๆ ได้ว่า RSI เป็น Oscilator ที่กำหนดแถบสูงสุดและต่ำสุดระหว่างค่า 2 ค่าที่ตรงข้ามกัน ในขณะเดียวกันก็คำนวณจำนวนและความเร็วของการเปลี่ยนแปลงของราคาไปด้วย

S

Spot Trading ( การเทรด Spot)

การเทรด Spot เกี่ยวข้องกับการซื้อและขายคริปโทเคอร์เรนซีที่ราคาตลาดในปัจจุบันโดยมุ่งหวังจะทำกำไร

Stake

การล็อกคริปโทเคอร์เรนซีที่ถือครองอยู่เพื่อสะสมรางวัลหรือดอกเบี้ยเป็นเทคนิคที่เรียกว่า “การ Stake คริปโต (Crypto Staking)”

Shorting (การ Short)

การขายคริปโทเคอร์เรนซีโดยตั้งใจที่จะซื้อคืนในภายหลังในราคาที่ถูกกว่าเป็นวิธีที่รู้จักกันในชื่อ “การ Short คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency Shorting)”

Social Trading

รูปแบบการลงทุนที่เรียกว่า "Crypto Social Trading" ช่วยให้นักลงทุนสามารถคัดลอกวิธีการเทรดของนักเทรดคริปโทเคอร์เรนซีผู้เชี่ยวชาญได้

Support and Resistance (แนวรับและแนวต้าน)

แนวรับและแนวต้านเป็นจุดราคา (พื้นที่ในกราฟ) บนกราฟการเทรดที่ช่วยให้เห็นการซื้อและขายจำนวนมาก ระดับที่ราคาสินทรัพย์หยุดลดลงจะถูกเรียกว่า “แนวรับ (Support)” ส่วน “แนวต้าน (Resistance)” คือระดับที่ราคาสินทรัพย์หยุดเพิ่มสูงขึ้น

T

Tokenomics (เศรษฐศาสตร์ของโทเค็น)

เศรษฐศาสตร์ของโทเค็นเรียกว่า “Tokenomics”

โดยเศรษฐศาสตร์ของโทเค็นจะสรุปองค์ประกอบต่างๆ เช่น การผลิตและแจกจ่ายโทเค็น อุปสงค์และอุปทาน ระบบแรงจูงใจ และกำหนดการ Burn โทเค็น ซึ่งล้วนส่งผลต่อการใช้งานและมูลค่าของโทเค็นทั้งสิ้น

Technical Analysis หรือ TA (การวิเคราะห์ทางเทคนิค)

การวิเคราะห์ทางเทคนิค คือ กระบวนการวิเคราะห์กราฟราคาและใช้ Market Indicator แบบต่างๆ เพื่อกำหนดสถานะของตลาด นี่เป็นหัวข้อที่ซับซ้อนสำหรับนักเทรดผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคต

Testnet

แพลตฟอร์ม Smart Contract เช่น Ethereum และ Binance Smart Chain ให้บริการ “Testing Environment” สำหรับนักพัฒนาที่เรียกกันว่า “Testnet” ซึ่งเป็นที่ที่พวกเขาสามารถปรับใช้และทดสอบ Smart Contract ได้ Testing Environment เหล่านี้ทำงานในลักษณะเดียวกับเครือข่ายหลัก แต่คริปโทเคอร์เรนซีที่ใช้นั้นไม่มีมูลค่าและสามารถรับได้ฟรีจาก “Testnet Faucet”

Token (โทเค็น)

โดยทั่วไปแล้วคำว่า “โทเค็น” จะใช้เพื่ออธิบายถึงโทเค็นที่ออกโดยใช้ Smart Contract บนบล็อกเชน Ethereum ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับเหรียญ (Coin) ปัจจุบันมีโทเค็นอยู่หลายพันโทเค็น และคริปโทเคอร์เรนซีหลายสกุลที่อยู่ใน 100 อันดับแรกตามราคาตลาด คือ โทเค็น Ethereum

TradingView

TradingView เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก พร้อมทั้งให้บริการกราฟจากหลายแพลตฟอร์มสำหรับนักเทรดและนักลงทุน แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้ตรวจสอบกราฟราคาของสินทรัพย์กว่าหลายร้อยรายการ รวมถึงคริปโทเคอร์เรนซีได้ ตลอดจนแบ่งปันและพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดทางการตลาดของพวกเขาได้อีกด้วย

U

Unspent Transaction Output (UTXO)

ในเครือข่ายคริปโทเคอร์เรนซี ยอดคงเหลือใน Wallet จะไม่ถูกจัดเก็บเป็นตัวแปร เช่น ยอดคงเหลือ 100 BTC แต่จะได้มาจาก UTXO หลายๆ ตัว ที่เป็นหน่วยของคริปโทเคอร์เรนซีที่ไม่ได้ใช้งานซึ่งเหลือมาจากผลรวมของธุรกรรมทั้งหมดที่ดำเนินการใน Wallet นั้นๆ โดย UTXO ของ Address ทั้งหมดจะเท่ากับยอดคงเหลือที่ใช้ได้ใน Wallet

Unit Price (ราคาต่อหน่วย)

ราคาต่อหน่วยของคริปโต คือ ราคาต่อ 1 คริปโทเคอร์เรนซี

USDT-Margined / USDC-Margined Futures

USDT/USDC-Margined Contract (สัญญา USDT/USDC-Margined) คือ อนุพันธ์ของ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง

ผู้ใช้สามารถทำกำไรจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยการเปิด Long หรือ Short Position ตามดุลยพินิจของตนเอง

V

Validator

Validator คือ ผู้มีส่วนร่วมในเครือข่ายบล็อกเชนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมที่เข้ามา Validator ที่ถูกใช้งานในแพลตฟอร์ม Proof-of-Stake แทนนักขุด จะช่วยรักษาความสมบูรณ์และปลอดภัยของบล็อกเชน เพื่อแลกกับรางวัลสำหรับการทำหน้าที่ดังกล่าว เครือข่ายจะเลือก Validator ให้เข้ามาตรวจสอบบล็อกใหม่โดยอิงจากจำนวนคริปโทเคอร์เรนซีที่พวกเขา Stake ไว้ในระบบ

Volatility (ความผันผวน)

ความผันผวนซึ่งตรงกันข้ามกับความเสถียร หมายถึงแนวโน้มที่จะเกิดความผันผวนในราคาของสินทรัพย์ Bitcoin และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ นั้นถือว่ามีความผันผวนสูงมาก ซึ่งเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่ และประเด็นนี้เองก็อาจเป็นข้อเสียเปรียบสำคัญสำหรับนักเทรดคริปโตเลยก็ว่าได้

W

Wallet

เจ้าของคริปโทเคอร์เรนซีใช้ Wallet เป็นเครื่องมือในการจัดการ Private Key และใช้เป็นอินเทอร์เฟซสำหรับทำธุรกรรม ในปัจจุบัน Wallet มีให้เลือกทั้งแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งแบบ Custodial หรือ Non-Custodial ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาอยู่ที่ว่า ผู้ใช้จะยังคงสามารถจัดการ Private Key ของตนได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่เท่านั้นเอง

Whale (วาฬ)

"วาฬ" เป็นคำเรียกขานสำหรับผู้เล่นหลักในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี อาจเป็นได้ตั้งแต่นักลงทุนสถาบัน ไปจนถึงกองทุนบริหารความเสี่ยงหรือบุคคลทั่วไปที่ร่ำรวย



Y

Yield Farming

Yield Farming คือ การให้ยืมหรือนำคริปโทเคอร์เรนซีไป Stake เพื่อแลกกับผลประโยชน์ เช่น ดอกเบี้ย ในการคำนวณผลตอบแทน Yield Farmer จะใช้อัตราผลตอบแทนต่อปี (APY)

Z

Zero Confirmation

ธุรกรรมที่ได้รับการยืนยันซึ่งยังไม่ได้บันทึกลงในบล็อกเชน



24-Hour Volume (ปริมาณ 24 ชั่วโมง)

ปริมาณเหรียญที่มีการเปลี่ยนมือภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็น 24 ชั่วโมง คือ ปริมาณการเทรดของคริปโทเคอร์เรนซี กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มูลค่าของการซื้อและขายทั้งหมดที่เสร็จสิ้นในหนึ่งวันจะสะท้อนให้เห็นในปริมาณการเทรด 24 ชั่วโมงของคริปโทเคอร์เรนซีนั่นเอง



นี่คือความพยายามเล็กๆ น้อยๆ ของเราในการอธิบายความหมายของศัพท์คริปโตสำหรับมือใหม่ที่ใช้กันบ่อยที่สุด แต่ก็ยังคงมีคำศัพท์อื่นๆ อีกมากมายที่เราไม่อาจรวบรวมไว้ได้ในบทความเดียว อย่างไรก็ตาม พวกเราหวังว่าคำศัพท์ข้างต้นที่แนะนำไปจะเพียงพอให้คุณได้เริ่มต้นเส้นทางสายคริปโตของตัวเองได้เป็นอย่างดี

ติดตามข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเทรดคริปโตเพิ่มเติมได้ทาง Bitget Academy:

Twitter | Telegram | LinkedIn | Youtube | Facebook | Instagram

แชร์
link_icon
หากยังไม่ได้เป็น Bitgetterของขวัญต้อนรับมูลค่า 6,200 USDT สำหรับ Bitgetter หน้าใหม่!
สมัครเลย
ทุกเหรียญโปรดของคุณ เรามีให้ครบครัน!
ซื้อ ถือ และขายคริปโทเคอร์เรนซียอดนิยม เช่น BTC, ETH, SOL, DOGE, SHIB, PEPE และอีกเพียบ ลงทะเบียนและเทรดเพื่อรับเซ็ตของขวัญสำหรับผู้ใช้ใหม่มูลค่า 6,200 USDT!
เทรดเลย