กรณีการนำไปใช้งานในโลกจริงสำหรับบล็อกเชนและคริปโต: ปฏิวัติการเงินแบบดั้งเดิมและกำหนดอนาคตใหม่
ในบทความนี้ เราจะพาไปเจาะลึกว่าเทคโนโลยี บล็อกเชนกำลังพลิกโฉมการเงินแบบดั้งเดิมและกำหนดอนาคตของเราไปในทิศทางใด
Bitcoin: ทองคำดิจิทัลแห่งศตวรรษที่ 21
คุณเคยไหมที่จะลองพิจารณาถึงการเปลี่ยน “ทองคำ” องค์ประกอบที่จับต้องได้และเปล่งประกาย ให้กลายเป็น “สินทรัพย์ดิจิทัล” ที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตาเปล่ามองไม่เห็น แต่กลับส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งในระดับโลก
นี่คือเรื่องราวของ Bitcoin หรือที่มักจะเรียกกันว่า “ทองคำดิจิทัล” แห่งศตวรรษที่ 21
Bitcoin เปิดตัวในช่วงวิกฤตทางการเงินปี 2008 โดยถือกำเนิดขึ้นในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการกำหนดนิยามใหม่ให้กับแนวคิดหลักเกี่ยวกับเงินสด จากจุดเริ่มต้นที่เรียบง่ายไม่หวือหวา ซึ่ง Bitcoin มีมูลค่าเท่ากับพิซซ่าแค่สองสามชิ้น ไปจนถึงจุดที่มูลค่าก้าวกระโดดสู่การเป็นสินทรัพย์มูลค่าแสนล้านดอลลาร์ ถือว่า Bitcoin ได้สร้างประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งของตนเองขึ้นมา แต่อะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุเบื้องหลังในการนำ Bitcoin มาเปรียบเทียบกับ “ทองคำ” สินทรัพย์ที่จับต้องได้ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่เก็บรักษามูลค่ามานับพันปี เราจะพาไปดูกัน
ตามข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2023 อุปทานของ Bitcoin มากกว่า 92% ได้ถูกขุดไปเรียบร้อยแล้ว
ที่มา: Blockchain.com
อุปทานของ Bitcoin นั้นมีจำกัดในลักษณะเช่นเดียวกับทองคำ โดยมีเพียง 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้นที่จะถูกขุดขึ้นมาได้ ถือเป็นการสร้างคุณค่าด้านความขาดแคลน (Scarcity) ให้กับสินทรัพย์นี้โดยธรรมชาติ นอกจากนี้ Bitcoin ยังมีคุณสมบัติตามธรรมชาติของทองคำที่เป็นอิสระและไร้ซึ่งอธิปไตย หมายความว่า Bitcoin จะปราศจากการควบคุมและการแทรกแซงจากรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น Bitcoin ยังก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยคุณสมบัติของการพกพาได้ แบ่งแยกได้ และสามารถตรวจสอบได้ ในลักษณะที่ทองคำไม่สามารถเป็นได้เลยด้วยความที่มีคุณสมบัติผูกไว้กับความเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้นั่นเอง กล่าวได้ว่า การผสมผสานระหว่างสิ่งเก่าและใหม่ ควบคู่ไปกับการรวมที่เก็บรักษามูลค่าแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัยนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้หลายๆ คนขนานนาม Bitcoin ว่าเป็น “ทองคำดิจิทัล” แห่งยุคนี้
หากต้องการลงทุนใน Bitcoin (BTC) ก็สามารถใช้เวลาเพียง 2 นาทีในการสร้างบัญชีที่ Bitget แล้วเริ่มเทรด Bitcoin ได้เลย!
Stablecoin: ปฏิวัติการทำธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์ด้วยความเร็วปานสายฟ้าของอินเทอร์เน็ต
การโอนเงินระหว่างประเทศแบบดั้งเดิม อาจมีราคาแพงและดำเนินการล่าช้า ซึ่งมักทำให้ผู้ส่งได้รับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ไม่น่าพึงพอใจนัก แล้วจะมีวิธีการแก้ปัญหาใดบ้างไหมที่ผสมผสานความเสถียรของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เข้ากับความเร็วและการเข้าถึงได้ทั่วโลกของอินเทอร์เน็ต
ขอเชิญชวนมาเข้าสู่โลกแห่ง “Stablecoin” คริปโทเคอร์เรนซีประเภทหนึ่งที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรักษามูลค่าที่มั่นคง ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรึงมูลค่าไว้กับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หรือทองคำ การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์นี้เองมีจุดมุ่งหมายเพื่อผสานรวมสิ่งที่ดีที่สุดจากทั้งสองโลก คือ โลกของคริปโทเคอร์เรนซีที่การทำธุรกรรมเกิดขึ้นได้แบบไร้พรมแดน รวดเร็ว และปลอดภัย รวมกับโลกของสกุลเงิน Fiat ที่มีความเสถียรนั่นเอง
USDT เป็นผู้นำในตลาด Stablecoin โดยมีเปอร์เซ็นต์การครองตลาดถึง 63.69% ในเดือนพฤษภาคม 2023
ที่มา: DeFiLlama
ธุรกรรมของ Stablecoin สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วจนน่าทึ่ง ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรในสหรัฐอเมริกาสามารถชำระเงินให้กับซัพพลายเออร์ (Supplier) ในญี่ปุ่นได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่งตรงข้ามกับการชำระเงินผ่านธนาคารทั่วไปที่อาจต้องใช้เวลาดำเนินการเป็นวัน กล่าวคือ ความสามารถในการดำเนินการธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้แทบจะในทันทีนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการประมวลผลธุรกรรมข้ามพรมแดนแบบดั้งเดิมที่มักจะใช้เวลานาน
นอกจากนี้ ธุรกรรมแต่ละรายการจะถูกบันทึกไว้ใน Ledger สาธารณะแบบกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นระดับความโปร่งใสที่หาได้ยากในระบบธนาคารแบบดั้งเดิม ควบคู่ไปกับมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยอาศัยวิทยาการเข้ารหัสลับที่ช่วยป้องกันการฉ้อโกงและการแฮ็ก สรุปได้ว่า Stablecoin ที่ตรึงมูลค่าไว้กับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเสถียรนั้นจึงแตกต่างจาก คริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ที่ต้องเผชิญกับความผันผวนของมูลค่าในแต่ละวัน ดังนั้นการทำธุรกรรมดิจิทัลด้วย Stablecoin จึงสามารถคาดการณ์และเชื่อถือได้มากกว่านั่นเอง
Uniswap: เชื่อมช่องว่างระหว่างการเงินแบบดั้งเดิมและการเงินแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Finance: DeFi)
เรากำลังเห็นการปฏิวัติในอุตสาหกรรมการเงินด้วยการถือกำเนิดของ Decentralized Finance (DeFi) อยู่หรือเปล่า ดูเหมือนว่า “Uniswap” โปรโตคอลการแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์จะสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือทีเดียว
ผู้ใช้ Uniswap ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง
ที่มา: Dune analytics
Uniswap เป็นโปรโตคอลการแลกเปลี่ยนแบบกระจายศูนย์ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2018 Uniswap ก็ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วภายในชุมชนคริปโทเคอร์เรนซีที่มีผู้ใช้มากกว่า 5 ล้านคน ความพิเศษโดยรวมของ Uniswap และ Decentralized Finance (DeFi) อยู่ที่การขจัดตัวกลางออกจากการดำเนินการภายในระบบ กล่าวคือ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นได้สร้างระบบนิเวศทางการเงินแบบ Peer-to-Peer ที่ซึ่งการทำธุรกรรมจะมีความโปร่งใส ปลอดภัย และรวดเร็วขึ้นมา นอกจากนี้ ความสามารถในการ Swap คริปโทเคอร์เรนซีต่างๆ ได้โดยตรงกับผู้ใช้รายอื่น ยังทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการเงินของตนได้ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น Uniswap ยังอนุญาตให้ทุกคนเป็นผู้ให้บริการสภาพคล่องได้ โดยการฝากสินทรัพย์เข้าไปใน Liquidity Pool สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่โดดเด่นจากโมเดลทางการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่งจะมีเพียงหน่วยงานที่ได้รับสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่จะสามารถให้บริการสภาพคล่องได้ กล่าวได้ว่า แนวทางใหม่นี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมระบบนิเวศทางการเงินที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยให้ระบบมีความยืดหยุ่นและกระจายศูนย์อีกต่างหาก
หากมองในมุมมองที่กว้างขึ้นจะพบว่า Uniswap และแพลตฟอร์ม DeFi ที่คล้ายกันนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงสถานะของอำนาจในระบบการเงินไปอย่างสมบูรณ์ ด้วยการกระจายศูนย์การควบคุมและการเข้าถึงเช่นนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวได้ส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศทางการเงินที่ครอบคลุมสำหรับทุกคนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะปูทางไปสู่อนาคตของการเงินได้อย่างแน่นอน
ข้อสงวนสิทธิ์: ความคิดเห็นที่อยู่ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น บทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ที่ได้มีการเอ่ยถึง รวมถึงไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน การเงิน หรือการเทรด ขอแนะนำให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองก่อนทำการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
- Blockchain101: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ DApp2024-12-20 | 5m