ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในบล็อกเชน
ในบทความนี้ เราจะเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในบล็อกเชน พร้อมตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้เข้าใจแนวคิดที่สำคัญเหล่านี้อย่างครอบคลุม
การเข้ารหัสและการ Hash: การปกป้องข้อมูลด้วยเทคนิคขั้นสูง
การเข้ารหัสและการ Hash เป็น 2 เทคนิคขั้นสูงที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของข้อมูลบนบล็อกเชน แม้ว่าทั้ง 2 เทคนิคนี้มักจะทำงานร่วมกัน แต่ก็ใช้สำหรับจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในการปกป้องข้อมูล
การเข้ารหัส
John เขียนจดหมายลับและใส่ไว้ในกล่องที่ล็อกไว้ เฉพาะผู้ที่มีกุญแจที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะสามารถเปิดกล่องและอ่านจดหมายของเขาได้ นี่คือแนวคิดพื้นฐานเบื้องหลังการเข้ารหัส
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเข้ารหัสคือกระบวนการแปลงข้อมูลที่อ่านได้ให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ได้ซึ่งสามารถถอดรหัสได้ด้วยรหัสที่ถูกต้องเท่านั้น การเข้ารหัสจะช่วยคุ้มครองข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
คุณสามารถเปลี่ยนข้อมูลที่อ่านไม่ได้กลับเป็นรูปแบบเดิม คือเป็นข้อมูลที่อ่านได้ ในกระบวนการที่เรียกว่าการถอดรหัส
การ Hash
เพื่อปกป้องข้อมูลของตน Mary ใช้ลายนิ้วมือที่ไม่ซ้ำกันสำหรับเอกสารแต่ละฉบับ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจะทำให้เกิดลายนิ้วมือที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง การ Hash ก็ทำงานในลักษณะเดียวกัน
เทคนิคนี้จะนำข้อมูล Input มาสร้างเป็น String ข้อมูลไบต์ที่มีขนาดคงที่ ซึ่งก็คือ Hash Hash คือลายนิ้วมือดิจิทัลสำหรับข้อมูลของบล็อก รวมถึงธุรกรรม, Hash ของบล็อกก่อนหน้า และ Nonce (ตัวเลขสุ่ม) หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแม้เพียงเล็กน้อย Hash ก็จะดูแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
Hash นั้นต่างจากการเข้ารหัส ตรงที่คุณไม่สามารถเปลี่ยน Hash กลับไปเป็นข้อมูลเดิมได้ ข้อมูลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลง ดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้ถึงความน่าเชื่อถือ
ลองพิจารณาตัวอย่างง่ายๆ ของการ Hash บนบล็อกเชนกัน มีเพื่อน 3 คน ได้แก่ Anna, Bob และ Chris ทั้ง 3 คนช่วยกันออกค่าใช้จ่ายโดยใช้ Ledger
Bob จ่ายเงินให้ Anna $5 สำหรับค่ามื้อกลางวัน และธุรกรรมนี้ถูกเพิ่มลงในบล็อกที่มี Hash เฉพาะคือ ABC123 ต่อมา Chris จ่ายเงินให้ Bob $10 สำหรับค่าหนังสือ เป็นการสร้างบล็อกใหม่ที่มี Hash ของบล็อกก่อนหน้า (ABC123) และสร้าง Hash เฉพาะคือ DEF456 หากมีใครพยายามแก้ไขธุรกรรมนี้ใน Ledger ก็จะทำให้ Hash เปลี่ยนไปและทำให้ Chain ยุ่งเหยิง เครือข่ายบล็อกเชนจะตรวจจับและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความสมบูรณ์ของ Ledger ที่ใช้ร่วมกัน
Public Key vs. Private Key: กุญแจของคุณสู่การทำธุรกรรมที่ปลอดภัย
Public Key และ Private Key มีบทบาทสำคัญในด้านความปลอดภัยของธุรกรรมและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดย Key เหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างข้อมูลตัวตนดิจิทัลที่ไม่ต้องอาศัยความไว้วางใจ (Trustless) สำหรับผู้ใช้ภายในระบบแบบกระจายศูนย์
Public Key
โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนจะมีตู้จดหมายสำหรับที่อยู่เฉพาะ เอาไว้รับจดหมายหรือพัสดุ Public Key จะคล้ายกับตู้จดหมายนั้น
Public Key คือ String ตัวอักษรและตัวเลขที่คุณสามารถเปิดเผยกับใครก็ได้ และพวกเขาก็สามารถส่งสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น BTC, ETH, USDT, XRP และ DOGE ให้คุณในลักษณะที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัวได้ Key นี้สร้างขึ้นผ่านอัลกอริทึมทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อเข้ารหัสข้อมูลและยืนยันลายเซ็นดิจิทัล
ตัวอย่าง: เมื่อคุณสร้าง Metamask Wallet คุณจะได้รับ Public Key เพื่อรับสินทรัพย์จากผู้อื่น
Private Key
Private Key คือ String ตัวอักษรและตัวเลขที่เป็นความลับและมีการป้องกันอย่างใกล้ชิด โดยใช้เป็นรหัสผ่านเพื่อให้สิทธิ์การเข้าถึง Wallet ดิจิทัลของคุณ
ตัวอย่างเช่น หากต้องการส่งสินทรัพย์ให้ผู้อื่น คุณต้องเซ็นธุรกรรมโดยใช้ Private Key ของคุณ การดำเนินการนี้เป็นการพิสูจน์ว่าคุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นโดยชอบธรรมและอนุมัติการโอนดังกล่าว
โปรดทราบว่าหากมีคนเข้าถึง Private Key ของคุณได้ พวกเขาจะสามารถควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลของคุณ ดังนั้น โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการทำให้ Private Key และสินทรัพย์คริปโทเคอร์เรนซีของคุณมีความปลอดภัย
หากคุณต้องการเก็บรักษาคริปโตของคุณอย่างปลอดภัยบน Bitget Wallet ก็ลองมาอ่านบทความของเรา: วิธีจัดเก็บคริปโตของคุณอย่างปลอดภัย: คู่มือสำหรับมือใหม่เกี่ยวกับ Bitget Wallet
Smart Contract: อนาคตของธุรกรรมแบบกระจายศูนย์
Smart Contract คือข้อตกลงดิจิทัลที่ดำเนินการเองได้โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขฝังอยู่โดยตรงในรูปแบบ Code โดยพื้นฐานแล้ว Smart Contract จะถูกจัดเก็บไว้ในบล็อกเชนเพื่อให้การทำธุรกรรมมีความโปร่งใส ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง
คุณอาจสงสัยแล้วใช่ไหมว่า Smart Contract ทำงานอย่างไร
Smart Contract ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ภาษาโปรแกรมมิ่งพิเศษและ Deploy บนเครือข่ายบล็อกเชน (Solidity สำหรับ Ethereum หรือ Plutus สำหรับ Cardano) โดยเมื่อ Deploy แล้ว Smart Contract จะเฝ้าติดตามเครือข่ายเพื่อหาธุรกรรมที่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อเงื่อนไขเหล่านี้ได้รับการตอบสนอง Smart Contract จะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ เช่น การโอนสินทรัพย์
ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ Emily ต้องการเช่าอพาร์ทเมนต์ แต่แทนที่จะเซ็นสัญญากระดาษ Emily และเจ้าของบ้านตกลงที่จะใช้ Smart Contract บนบล็อกเชน Smart Contract ประกอบด้วยข้อกำหนดต่างๆ เช่น ค่าเช่า เงินมัดจำค่าเช่า และระยะเวลาของสัญญาเช่า เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา (Emily จ่ายเงินมัดจำค่าเช่า 2 เดือน) Smart Contract ก็จะโอนกุญแจอพาร์ทเมนท์ให้กับ Emily โดยอัตโนมัติ
ธุรกรรมส่วนตัว: ทำให้แน่ใจได้ถึงการรักษาความลับและการไม่เปิดเผยตัวตน
โดยทั่วไปแล้ว บล็อกเชนมีความโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ก็มีบางเครือข่ายที่เสนอทางเลือกในการทำธุรกรรมแบบส่วนตัวเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีเพียงเฉพาะฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงรายละเอียดที่ละเอียดอ่อนได้
ธุรกรรมส่วนตัวใช้เทคนิคการเข้ารหัสขั้นสูงเพื่อปกป้องรายละเอียดของธุรกรรม โดยเทคนิคเหล่านี้จะประกอบด้วย Zero-Knowledge Proof ซึ่งช่วยให้ฝ่ายหนึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีข้อมูลเฉพาะโดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นออกมา และยังมีธุรกรรมที่เป็นความลับซึ่งเข้ารหัสจำนวนเงินของธุรกรรมไว้ เพื่อให้มีเพียงผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่สามารถดูมูลค่าได้ และใช้ Stealth Address ซึ่งเป็น Address แบบใช้ครั้งเดียวที่สร้างขึ้นสำหรับแต่ละธุรกรรม
มีแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงบางแห่งที่ให้บริการธุรกรรมส่วนตัวแก่ผู้ใช้ ได้แก่ ZCash , Tornado Cash และ Mimblewimble
ตัวอย่าง: Lara ต้องการส่ง 1 BTC ไปให้ Mark โดยไม่ให้ใครรู้ เธอตัดสินใจไปที่ Tornado Cash ฝาก 1 BTC และสร้างบันทึกลับไว้ Lara แชร์บันทึกไปให้ Mark และเขาก็เชื่อมต่อ Wallet ของเขา เข้าไปที่บันทึก แล้วระบุ Address หลังจากนั้น Mark ก็สามารถถอนเงิน 1 BTC ได้อย่างง่ายดาย โดยที่ธุรกรรมของพวกเขายังคงเป็นความลับ
สรุปปิดท้าย
การเข้าใจพื้นฐานของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบล็อกเชนช่วยให้เข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื่องจากบล็อกเชนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราจึงสามารถคาดหวังฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวขั้นสูงยิ่งขึ้นได้
ข้อสงวนสิทธิ์: รายชื่อผลิตภัณฑ์และโปรเจกต์ทั้งหมดที่กล่าวถึงในบทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด
- Blockchain101: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ DApp2024-12-20 | 5m