ประวัติศาสตร์บล็อกเชน: เทคโนโลยีบล็อกเชนเปลี่ยนโลกไปอย่างไร
เนื่องจากราคาของ Bitcoin พุ่งสูงขึ้น เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของ Bitcoin ซึ่งก็คือบล็อกเชนจึงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากคริปโทเคอร์เรนซีแล้ว บล็อกเชนยังมีการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึง Smart Contract, การยืนยันตัวตน, ข้อตกลง, สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา และการนำไปใช้งานอื่นๆ อีกมากมาย
รัฐบาลและธนาคารต่างๆ ได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับบล็อกเชนและนำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยมีการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในบริษัทบล็อกเชนหลายแห่ง ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกว่าเทคโนโลยีบล็อกเชน กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไร และสำรวจถึงการพัฒนาในอนาคต
ยุคแรกเริ่มของบล็อกเชน (ตั้งแต่ปี 1991)
แนวคิดของเทคโนโลยีบล็อกเชน นั้นเริ่มต้นขึ้นในปี 1991 โดยนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 2 คนคือ Stuart Haber และ W. Scott Stornetta โดยพวกเขาได้แนะนำโซลูชันสำหรับการป้องกันไม่ให้ข้อมูลและเอกสารถูกลงวันที่ย้อนหลังหรือแก้ไขโดยการสร้างการประทับเวลาสำหรับข้อมูลเหล่านั้น
เป็นเหมือนสายโซ่ของบล็อกต่างๆ ที่มีข้อมูล ซึ่งเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ ข้อมูลใหม่นั้นก็จะถูกบันทึกลงในบล็อกใหม่ เมื่อบล็อกนั้นมีข้อมูลเต็มแล้ว ก็จะโยงเข้ากับบล็อกก่อนหน้า ซึ่งทำให้ข้อมูลถูกโยงเข้าด้วยกันตามลำดับเวลา
โซลูชันการเข้ารหัสนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลและเอกสารที่จัดเก็บไว้ในบล็อกเชน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีบล็อกเชนไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหรือมีการใช้กันโดยทั่วไปในช่วงเวลานั้น จนในที่สุด สิทธิบัตรเทคโนโลยีบล็อกเชนก็หมดอายุลงในปี 2004
Proof of Work ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (ตั้งแต่ปี 1990)
Proof of Work (PoW) ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้นั้นถูกคิดค้นโดย Hal Finney ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของเงินสดดิจิทัลและทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Bitcoin
ในช่วงทศวรรษ 1990 Hal Finney มีความคิดว่ามูลค่าของเงินสดดิจิทัลไม่ควรถูกกำหนดโดยองค์กรที่เป็นผู้ออกเงินสดนั้น อุปทานของเงินสดดิจิทัลนี้มีจำกัดเพื่อให้ยากต่อการสร้าง ซึ่งสามารถทำได้โดยการกำหนดหน่วยของเงินสดดิจิทัลในแง่ของ Proof of Work ซึ่งคล้ายกับเครือข่าย Bitcoin ซึ่งอุปทานของ Bitcoin ถูกจำกัดไว้ที่ 21 ล้าน
เครือข่าย Bitcoin (ตั้งแต่ปี 2009)
ในปี 2008 การล่มสลายทางการเงินทำให้ประชาชนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและระบบธนาคาร เนื่องจากธนาคารกลางเริ่มพิมพ์เงินและอัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงิน เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนตระหนักถึงการลดมูลค่าของสกุลเงิน Fiat
ในช่วงเวลานั้น บุคคลหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ได้เปิดตัวระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ Peer-to-Peer แบบกระจายศูนย์ต่อชุมชน Cryptography (วิทยาการเข้ารหัสลับ)
ซึ่งระบบใหม่นี้มีชื่อว่า “Bitcoin” และใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งและรับเงินดิจิทัลได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง นอกจากนี้ ก็ไม่มีองค์กรแบบรวมศูนย์อย่างธนาคารและรัฐบาลที่จะเป็นผู้จัดการบัญชี ตรวจสอบยืนยันธุรกรรม หรือควบคุมอุปทานของ Bitcoin
แต่ปัจจุบันระบบ Bitcoin ดำเนินการด้วยคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องที่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมีการตรวจสอบยืนยันธุรกรรมโดย Node เครือข่ายผ่าน Cryptography (วิทยาการเข้ารหัสลับ) และบันทึกไว้ในบล็อกเชน Bitcoin ซึ่งใครก็สามารถมีส่วนร่วมในระบบนิเวศนี้ได้ด้วยการเข้าร่วมในกลไก Proof of Work เพื่อตรวจสอบยืนยันธุรกรรมในเครือข่ายและรับ Bitcoin เป็นรางวัล
ในวันที่ 3 มกราคม 2009 มีการขุดบล็อก Bitcoin แรกโดย Satoshi Nakamoto ซึ่งเขาได้รับรางวัลเป็น 50 Bitcoin ในปี 2009 มีการแลกเปลี่ยน 10,000 Bitcoin เป็นพิซซ่า 2 ถาดที่ร้านพิซซ่าแห่งหนึ่งในฟลอริดา ถือเป็นธุรกรรม Bitcoin แรกในโลกแห่งความเป็นจริง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ราคา Bitcoin ขึ้นสูงเกิน 65,000 USD
ฟังดูเป็นไปไม่ได้เหรอ หากคุณสนใจ คุณสามารถซื้อ Bitcoin ได้โดยตรงโดยใช้บัตรเครดิต, Apple Pay หรือ Google Pay บน Bitget นี่เป็นวิธีซื้อโดยตรงที่ง่ายสำหรับนักลงทุนคริปโตรายใหม่!
Ethereum: บล็อกเชน 2.0 (ตั้งแต่ปี 2015)
ในปี 2013 Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์และผู้ร่วมก่อตั้ง Bitcoin Magazine เสนอว่าบล็อกเชน Bitcoin จำเป็นต้องมีการอัปเดตเพื่อขยายการใช้งานนอกเหนือจากการให้บริการในฐานะระบบการเงิน
อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่ได้รับฉันทามติภายในชุมชน ต่อจากนั้น Vitalik ได้เปิดตัว Ethereum WhitePaper ซึ่งสรุปแนวคิดของการสร้างแพลตฟอร์มการประมวลผลบนบล็อกเชนใหม่ ผ่าน ICO ในปี 2014 และด้วยความพยายามในการพัฒนาที่ตามมา ในที่สุด Ethereum ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กรกฎาคม 2015
หนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญของ Ethereum คือการเปิดตัว Smart Contract โดยสามารถสร้าง Smart Contract เพื่อให้ทำงานเหมือนกับสัญญาทั่วไปในโลกแห่งความเป็นจริงได้ และมีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังอยู่ภายในบล็อกเชน
Smart Contract ทำงานอย่างไร เมื่อตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น เมื่อถึงวันหมดอายุหรือบรรลุเป้าหมายราคาที่เฉพาะเจาะจงแล้ว Smart Contract สามารถจัดการข้อตกลงได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีการแทรกแซงหรือควบคุมดูแลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากสัญญาในโลกแห่งความเป็นจริงที่โดยทั่วไปจะได้รับการจัดการโดย 2 ฝ่ายที่ต่างกันและมีการควบคุมดูแลโดยบุคคลที่สามในเรื่องการกำกับดูแล ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการกำกับดูแลและปัญหาด้านความน่าเชื่อถือได้ด้วยการใช้ Smart Contract
คริปโทเคอร์เรนซี ของ Ethereum รู้จักกันในชื่อ Ether (ETH) ETH ใช้เพื่อชำระค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรการประมวลผลที่จำเป็นในการดำเนินการ Smart Contract โดยสามารถโอน ETH ระหว่างบัญชีได้ เช่นเดียวกับ Bitcoin
ตัวอย่างเช่น นักพัฒนาสามารถสร้างและเผยแพร่แอปพลิเคชันที่ทำงานภายในบล็อกเชน Ethereum ซึ่งแอปพลิเคชันเหล่านี้เรียกว่าแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApp) นักพัฒนาจะต้องจ่าย ETH เพื่อรับรองการทำงานที่ปลอดภัยของ DApp
ขณะนี้มี DApp มากกว่าร้อยรายการที่กำลังทำงานอยู่บนแพลตฟอร์ม Ethereum รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชันการพนัน และแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนทางการเงิน
Bitcoin เป็นระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบ Peer-to-Peer ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ส่วน Ethereum ขยายการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนจากระบบการเงินไปถึง Smart Contract, ข้อตกลง และ DApp
อนาคตของบล็อกเชน
การถือกำเนิดของเครือข่าย Bitcoin และ Ethereum ถือเป็นการวิวัฒนาการของระบบการเงินและ Smart Contract ซึ่งเป็นการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนที่แพร่หลายมากที่สุด 2 อย่าง อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ในการใช้งาน Distributed Ledger และบล็อกเชนต่างๆ นั้นแทบจะไม่จำกัดเลย
วิวัฒนาการขั้นที่ 3 ของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เรียกว่า บล็อกเชน 3.0 นั้นคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ และเทคโนโลยีบล็อกเชนได้ดึงดูดความสนใจและการลงทุนอย่างมาก โดยมีการทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับบริษัทบล็อกเชนต่างๆ ทำให้อุตสาหกรรมกำลังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ในขอบเขตของบล็อกเชน 3.0 เราสามารถคาดหวังถึงการใช้งานบล็อกเชนในวงกว้างได้ โดยองค์กรและหน่วยงานสำคัญต่างๆ อาจนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ตัวอย่างของการนำไปใช้งานที่เพิ่มขึ้นนี้คือการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อการจัดการและปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เราต้องการโซลูชันที่ทั้งง่ายและมีประสิทธิภาพ
มีอุตสาหกรรมจำนวนมากที่กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านเนื่องจากเทคโนโลยีบล็อกเชน
ตัวอย่างเช่น ในกรณีของความปลอดภัยของอาหาร เทคโนโลยี Distributed Ledger (DLT) สามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมด รวมถึงผลการทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารไว้บนบล็อกเชนได้ โดยบันทึกเหล่านี้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้และป้องกันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแก้ไขได้ยาก ความโปร่งใสของผลิตภัณฑ์อาหารและสิทธิของลูกค้าในข้อมูลต่างก็มีความปลอดภัย
ส่วนในเซกเตอร์การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถช่วยยกระดับการจัดการและการจัดเก็บบันทึกผู้ป่วยได้ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบโรงพยาบาลนั้นดีขึ้น
ในอุตสาหกรรมเกม เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ทำให้ Game-Fi ได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเป็นระบบนิเวศการเล่นเกมแบบกระจายศูนย์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ “Play to Earn” ได้ ทำให้ผู้เล่นสามารถรับรายได้จากการทำธุรกรรมในเกม ซื้อสินทรัพย์ในเกม หรือลงทุนในโทเค็นของโลกในเกมได้ โดยตอนนี้ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่านับพันล้านดอลลาร์ไปแล้ว
ลองเข้าไปที่ Bitget Launchpad ดูสิ ที่นั่นเราได้เปิดตัวโปรเจกต์โทเค็น Game-Fi ที่มีศักยภาพไว้มากมายในปี 2022 โดย Bitget Launchpad เป็นแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการเปิดตัวโปรเจกต์คริปโตใหม่ๆ และ Airdrop และด้วยการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ Bitget นี้เอง ทำให้คุณได้ค้นพบโปรเจกต์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นได้ในทุกเดือน!
เราพร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกด้านการเทรด และบล็อกเชนให้กับนักลงทุนคริปโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเทรดได้อย่างมีข้อมูลครบถ้วนและปรับปรุงประสบการณ์การเทรดโดยรวมอีกด้วย โปรดติดตามเรา!
Twitter | Telegram | LinkedIn | Facebook | Instagram
- Blockchain101: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ DApp2024-12-20 | 5m