Futures

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — Futures คืออะไร

2024-04-08 12:0011636

คู่มือสำหรับมือใหม่ Bitget — Futures คืออะไร image 0

ภาพรวม

- การเทรด Futures เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จากผลกำไรที่มากขึ้นได้โดยใช้เงินทุนน้อยลง แต่ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนมากขึ้นเช่นกัน การเข้าใจในระดับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้ก่อนเริ่มเทรดจะช่วยให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ Futures ได้ดีขึ้น

- บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นคู่มือช่วยให้ผู้ใช้มือใหม่เข้าใจผลิตภัณฑ์ Futures ของ Bitget ได้ดีขึ้น พร้อมทั้งแนะนำข้อมูลคำศัพท์และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง และให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ Futures ตลอดจนความเสี่ยงและข้อดีที่อาจมี

- บทความนี้แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ การเทรด Futures คืออะไร, ประเภทการเทรด Futures, การเทรด Futures ทำงานอย่างไร, ข้อดีและข้อเสียของการเทรด Futures และศัพท์การเทรด Futures หากคุณรู้ทั้งหมดนี้แล้ว ให้ไปที่วิธีทำการเทรด Futures ครั้งแรกของคุณเพื่อเริ่มต้นเส้นทาง Futures

การเทรด Futures คืออะไร

การเทรด Futures เป็นอนุพันธ์ทางการเงินประเภทหนึ่งที่แตกต่างไปจากการเทรด Spot โดยช่วยให้นักลงทุนทำกำไรมากขึ้นได้ด้วยการเปิด Short หรือการใช้ประโยชน์จากเลเวอเรจ Bitget Futures ให้นักลงทุนเทรดได้ถึงมากกว่า 200 คู่เทรด Margin พร้อมเลเวอเรจสูงสุดถึง 125X เช่น เมื่อนักลงทุนเชื่อว่าราคาของสินทรัพย์กำลังจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็สามารถเปิด Long หรือ Short ใน Futures ได้เพื่อใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์ดังกล่าว ที่สำคัญกว่านั้น ไม่ว่านักลงทุนจะมี Position แบบใดก็ตาม ก็สามารถใช้เลเวอเรจเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้

ประเภทการเทรด Futures

การเทรด Futures ในโลกคริปโทเคอร์เรนซีมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ คือ USDT-M/USDC-M Futures และ Coin-M Futures บน Bitget สามารถเทรดได้ทั้ง USDT-M/USDC-M Futures , Coin-M Futures และ Delivery Futures การเทรด USDT-M/USDC-M Futures หรือที่เรียกกันว่า Forward Futures หมายถึง Futures ที่ชำระราคาเป็น Stablecoin เช่น USDT และ USDC ตัวอย่างของ Futures ดังกล่าวได้แก่ BTCUSDT และ ETHUSDC (สังเกตได้จากสกุลเงินอ้างอิงที่เป็น Stablecoin) ในทางกลับกัน Coin-M Futures หรือที่เรียกกันว่า Inverse Futures หมายถึง Futures ที่ชำระราคาเป็นคริปโต เช่น BTCUSD และ ETHUSD ประเด็นหนึ่งที่ควรทราบก็คือ USDT-M/USDC-M Futures สามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า USDT-M/USDC-M Perpetual Futures ซึ่งไม่มีการหมดอายุตามชื่อ Coin-M Futures แบ่งออกได้เป็น Coin-M Perpetual Futures และ Coin-M Delivery Futures ซึ่งอย่างหลังจะมีระยะเวลาการส่งมอบ นักลงทุนควรแยกแยะประเภทของ Futures ที่ตนเทรดให้ชัดเจน

คำเหล่านี้หลายคำอาจทำให้มือใหม่สับสน แต่การเทรด Futures นั้นง่ายมาก เพียงแค่จำสินทรัพย์อ้างอิง สกุลเงินที่ใช้ชำระราคา และวันหมดอายุสัญญา ซึ่งนำไปใช้กับสัญญา Futures ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Perpetual, Delivery, Forward หรือ Inverse ลองดู Bitget Futures เป็นตัวอย่าง:

ความแตกต่าง

USDT-M/USDC-M Futures (Forward Futures)

Coin-M Futures Perpetual Futures (Inverse Futures)

Coin-M Futures Delivery Futures (Inverse Futures)

สกุลเงินอ้างอิง

โดยปกติแล้วจะเป็น Stablecoin เช่น USDT และ USDC

โดยปกติแล้วจะเป็น Bitcoin หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ

โดยปกติแล้วจะเป็น Bitcoin หรือคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ

มูลค่าของสัญญา (Notional Value)

เป็น Fiat

เป็นคริปโต

เป็นคริปโต

วันหมดอายุสัญญา

ไม่

ไม่

ใช่

ผู้ใช้ที่เหมาะสม

มือใหม่

มือใหม่

ผู้เชี่ยวชาญ

การเทรด Futures ทำงานอย่างไร

ตรรกะเบื้องหลังการเทรด Futures นั้นค่อนข้างเรียบง่าย คือเป็นการช่วยให้นักลงทุนสามารถกู้ยืม Fiat หรือคริปโตเพื่อเทรดในราคาที่ต้องการ ณ จุดใดจุดหนึ่งในอนาคตได้

สมมติว่านักลงทุน A มี 10,000 USDT ในบัญชี (เงินต้น) ของตน และนักลงทุน A เชื่อว่า Bitcoin กำลังจะปรับตัวขึ้นจากราคา $50,000 นักลงทุน A จึงกู้ยืม 90,000 USDT จาก Bitget แล้วใช้ 100,000 USDT ของตนซื้อสัญญา Bitcoin Futures จำนวน 2 สัญญา หากราคาของ Bitcoin ปรับตัวขึ้นเป็น $60,000 ในวันถัดไป นักลงทุน A ก็เลือกได้ว่าจะถือ Position ของตนต่อไป หรือจะขาย/ปิดสัญญา Futures ทั้ง 2 สัญญาก็ได้เช่นกัน โดยหลังจากขาย/ปิด Position ของตนแล้ว นักลงทุน A จะมี 120,000 USDT อยู่ในบัญชี จากนั้นเมื่อชำระคืนยอด 90,000 USDT ให้กับ Bitget แล้ว นักลงทุน A ก็จะมียอดเหลือ 30,000 USDT ในบัญชีของตน โดยหลังจากหักเงินต้น 10,000 USDT แล้ว นักลงทุน A จะได้กำไร 20,000 USDT

มีตัวแปรบางประการที่ควรทราบดังนี้:

1. นักลงทุน A สามารถปรับจำนวนที่ตนกู้ยืมได้ (การใช้เลเวอเรจ) ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตน

2. นักลงทุน A สามารถซื้อ/เปิด Long ได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกับที่สามารถขาย/เปิด Short ได้อย่างง่ายดาย

3. หลังจากที่นักลงทุน A มีกำไรแล้ว ก็สามารถเลือกที่จะถือต่อไป, เพิ่ม Position, ปิด Position หรือขาย Position บางส่วนออกไปก็ได้เช่นกัน

4. หากราคาของ Bitcoin ปรับตัวลงหลังจากที่นักลงทุน A เปิด Position แล้ว นักลงทุน A อาจจำเป็นต้องเพิ่มเงินทุนในบัญชีของตนเพื่อป้องกัน Liquidation (การบังคับขาย)

ในทางปฏิบัติ การเทรด Futures เป็นการที่แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนให้นักลงทุนกู้ยืมเงินเพื่อเพิ่มผลกำไรโดยแลกกับความเสี่ยงที่จะขาดทุนเพิ่มขึ้น เลเวอเรจเป็นฟีเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดของการเทรด Futures เนื่องจากช่วยให้นักลงทุนสามารถเพิ่มผลกำไรได้โดยไม่ต้องลงทุนเงินต้นเองเต็ม 100% ของมูลค่า Position

ข้อดีและข้อเสียของการเทรด Futures

เนื่องจากเลเวอเรจเป็นฟีเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดของการเทรด Futures จึงมีข้อดีและข้อเสียที่ค่อนข้างชัดเจน กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือนักลงทุนมีโอกาสที่จะทำกำไรได้มหาศาลในวันเดียว แต่ก็เสี่ยงที่จะสูญเสียทุกสิ่งในคราวเดียวเช่นกัน

ข้อดี:

- กำไรมหาศาลด้วยเงินลงทุนจำนวนเล็กน้อย:

ในการเทรด Futures นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนจำนวนเล็กน้อยเพื่อทำกำไรจำนวนมากได้ ปัจจุบัน เลเวอเรจสูงสุดที่แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนหลักๆ มีให้ใช้ได้คือ 125X ซึ่งหมายความว่านักลงทุนสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้มากถึง 125 เท่าของเงินทุนของตน แม้ว่าการเทรด Futures จะช่วยให้ใช้สินทรัพย์ได้ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือเลเวอเรจที่สูงไม่เหมาะสำหรับนักเทรดมือใหม่ เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ Liquidation (การบังคับขาย)

- กำไรรวดเร็ว

เมื่อเทียบกับการเทรด Spot แล้ว การเทรด Futures ช่วยให้นักลงทุนทำกำไรได้เร็วกว่ามาก วัดที่ค่าเฉลี่ย 10% ต่อการปรับตัวขึ้น การเทรด Spot จะต้องปรับตัวขึ้น 7 ครั้งถึงจะทำให้เงินต้น $10,000 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าได้ ในทางกลับกัน การเทรดที่เลเวอเรจ 10X จะทำให้เงินต้นในจำนวนที่เท่ากันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าได้ในการปรับตัวขึ้นเพียงครั้งเดียว (กำไร = $10,000 × 10 × 10% = $10,000)

- ตัวเลือกในการเปิด Short

คริปโตเป็นตลาดที่มักมีช่วงกระทิงสั้นและมีตลาดหมียาว ซึ่งหมายความว่าจังหวะการเข้าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับนักลงทุน แม้ว่าในช่วงตลาดกระทิงจะเข้าซื้อแล้วทำกำไรได้ไม่ยาก แต่ในช่วงตลาดหมีนั้น การทำกำไรจากการเทรด Spot กลับกลายเป็นเรื่องที่ท้าทาย การเทรด Futures จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับนักลงทุนในการเปิด Short ซึ่งช่วยให้ทำกำไรได้จากเทรนด์ตลาดขาลง

- Hedge ความเสี่ยง Downside

การ Hedge ความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์การเทรดขั้นสูงที่นักลงทุนและนักขุดที่มีประสบการณ์นำมาใช้ เนื่องจากในช่วงตลาดหมีนั้นมูลค่ายอดถือครอง Spot ของนักลงทุนจะลดลง จึงสามารถ Hedge ความเสี่ยงนี้ได้โดยการเปิด Short Position ซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์อ้างอิงปรับตัวลง

ข้อเสีย:

- เสี่ยงต่อ Liquidation (การบังคับขาย)

ไม่มีวิธีใดที่จะทำกำไรมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าการเทรด Futures จะช่วยเพิ่มผลกำไร แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียเงินเช่นกัน ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งคือ Liquidation (การบังคับขาย) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนเปิด Futures Position แต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะรักษา Position เอาไว้ได้เมื่อราคาเคลื่อนไหวสวนทาง กล่าวโดยง่ายคือเมื่อการเคลื่อนไหวของราคาที่ติดลบคูณด้วยเลเวอเรจแล้วเกิน 100% จะทำให้สูญเสียเงินลงทุนทั้งก้อน

สมมติว่านักลงทุน A เปิด Long กับ BTC ด้วยเลเวอเรจ 50X หากราคาของ BTC ปรับตัวลง 2% (50 × 2% = 100%) จะทำให้นักลงทุน A สูญเสียเงินต้นไปทั้งก้อน แม้ว่าราคาจะปรับตัวขึ้นหลังจากผ่านไป 5 นาที แต่ความเสียหายก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ส่วน Short Position ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ หากนักลงทุน A เปิด Short กับ BTC ด้วยเลเวอเรจ 20X แล้วราคาปรับตัวขึ้น 5% จะทำให้ Position ของนักลงทุนถูก Liquidate (บังคับขาย)

Liquidation (การบังคับขาย) เป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในการเทรด Futures นักลงทุนจำนวนมากที่เพิ่งเริ่มต้นในการเทรด Futures นั้นยังไม่ได้เข้าใจเรื่องเลเวอเรจอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ทันตระหนักว่าการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นนั้นใหญ่พอๆ กับผลกำไรที่อาจทำได้ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยง Liquidation (การบังคับขาย), ควบคุมความเสี่ยง และรักษาเงินต้นไว้ให้ปลอดภัย สามารถดูได้ที่วิธีหลีกเลี่ยง Liquidation (การบังคับขาย)

ศัพท์การเทรด Futures

Insurance Fund: Pool ของสินทรัพย์ที่ใช้ในการดูดซับการขาดแคลนหลักประกันและลดความเป็นไปได้ที่จะเกิด Deleveraging โดยอัตโนมัติ (ADL) ขึ้นบนแพลตฟอร์ม Insurance Fund = มูลค่าของ Position ÷ เลเวอเรจ

Maintenance Margin: หลักประกันขั้นต่ำที่กำหนดไว้เพื่อให้ถือ Position ต่อไปได้ Maintenance Margin จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามเพดานความเสี่ยงของนักเทรด

อัตรา Maintenance Margin / Maintenance Margin Rate: จำนวน Margin ที่สอดคล้องกับระดับขั้นของขนาด Position โดยเมื่ออัตรา Margin ของ Position ลงไปต่ำกว่าอัตรา Maintenance Margin ระบบจะทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) บางส่วนหรือทั้งหมด

อัตราส่วน Margin / Margin Ratio: ตัววัดระดับความเสี่ยงของ Position ณ ขณะนั้นของผู้ใช้ เมื่อถึง 100% ระบบจะทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) บางส่วนหรือทั้งหมด อัตราส่วน Margin = Maintenance Margin ของ Position ณ ขณะนั้น ÷ (Equity ในบัญชี - จำนวนที่ถูกระงับไว้สำหรับ Order ในโหมด Isolated Margin - Unrealized PNL ของ Isolated Margin Position - Isolated Margin สำหรับ Position)

Isolated Margin: แต่ละ Position จะได้รับการจัดสรร Margin จำนวนหนึ่งไปให้ โดยหาก Margin ของ Position ลงไปต่ำกว่า Maintenance Margin ระบบจะทริกเกอร์ Liquidation (การบังคับขาย) ซึ่งในโหมดนี้สามารถเพิ่ม Margin เข้าไปยังหรือลบ Margin ออกจาก Position ได้

Cross Margin: ยอดคงเหลือที่ใช้ได้ทั้งหมดในบัญชีสามารถใช้เป็น Margin เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Liquidation (การบังคับขาย) กับ Position

โหมด Cross Margin / Cross Margin Mode: โหมด Margin ที่ใช้ยอดคงเหลือที่ใช้ได้ในบัญชีของนักเทรดเป็น Margin สำหรับ Position ที่เปิด

โหมด Isolated Margin / Isolated Margin Mode: โหมด Margin ที่แยก Margin ซึ่งวางไว้ใน Position ที่เปิด โดยแยกออกจากยอดคงเหลือในบัญชีของนักเทรด

ราคา Mark / Mark Price: ราคาดัชนี Spot ของทั้งตลาดบวกกับอัตรา Funding พื้นฐานแบบถดถอย

ราคา Mark ต่อราคา Liquidation (Spread) / Mark Price to Liquidation Price (Spread): Spread ระหว่างราคา Liquidation โดยประมาณของ Order กับราคา Mark ณ ขณะนั้น ซึ่งจะช่วยให้นักเทรดตรวจสอบดู Spread และประเมินความเสี่ยงที่จะเกิด Liquidation (การบังคับขาย) ทันทีได้ก่อนที่จะยืนยันการวาง Order

Position Margin: Margin ขั้นต้น + ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่กำหนดไว้สำหรับการปิด Position

Margin ขั้นต้น / Initial Margin: Margin ที่กำหนดไว้เพื่อเปิด Position สำหรับการเทรด Margin

Liquidation (การบังคับขาย): หมายถึงเมื่อ Margin ของ Position ลงไปต่ำกว่า Maintenance Margin ซึ่งส่งผลให้สูญเสียหลักประกัน Margin ทั้งหมดไปโดยสิ้นเชิง โดยระบบจะทริกเกอร์เมื่อราคา Mark มาถึงราคา Liquidation ของ Position

ปิดที่ราคาตลาด / Market Close: การปิด Trigger Order ที่ได้วางไว้ โดยปิดที่ราคาตลาด

Market Order: Order ที่ได้รับการดำเนินการทันทีในราคาตลาดที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นใน Order Book

การวาง Order ตามราคาตลาด / Market Price-Based Order Placing: ระบบจะเลือกราคาที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุดมาเพื่อวาง Order หาก Order ไม่ได้รับการดำเนินการหรือได้รับการดำเนินการไม่เต็มจำนวน ระบบก็จะยังคงวาง Order ถัดไปในราคาล่าสุดที่น่าจะได้รับการดำเนินการมากที่สุด

โบนัสการเทรด / Trading Bonus: ผู้ใช้สามารถใช้โบนัสการเทรดเพื่อทำการเทรดภายในช่วงปริมาณหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์บางอย่างได้ แต่ไม่สามารถถอนหรือโอนเข้าบัญชีอื่นได้

Margin ของ Order / Order Margin: ผลรวมของ Margin ทั้งหมดสำหรับ Order ที่แอคทีฟอยู่ซึ่งกำลังรอดำเนินการ

Unrealized PNL: ผลกำไรขาดทุนโดยประมาณของ Position ตามราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งไม่รวมค่าธรรมเนียมธุรกรรมหรือค่าธรรมเนียม Funding

Limit Order: Order ที่มีการวางไว้ใน Order Book ซึ่งมีขีดจำกัดราคาที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้ใช้จะเป็นผู้ตั้งขีดจำกัดราคา โดยจะดำเนินการ Order ก็ต่อเมื่อราคาตลาดมาถึงหรือดีกว่าราคา Bid/Ask ณ ขณะนั้นเท่านั้น Limit Order ช่วยให้ผู้ใช้ซื้อได้ในราคาต่ำกว่าหรือขายได้ในราคาสูงกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น ซึ่งจะต่างจาก Market Order ที่ดำเนินการทันที ณ ราคาตลาด ณ ขณะนั้น โดยจะมีการวาง Limit Order ไว้ใน Order Book และจะถูกทริกเกอร์เมื่อราคามาถึงแล้วเท่านั้น

Trailing TP/SL: คำสั่งพิเศษที่ช่วยให้ผู้ใช้วาง Order ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้เมื่อตลาดเคลื่อนไหวสวนทาง/ในทางเดียวกันกับการเทรดของตน โดยเมื่อราคาตลาด/ราคา Mark มาถึงราคาสูงสุด/ต่ำสุด × (1 ± Trail Variance) ระบบก็จะวาง Order ณ ราคาตลาดที่ดีที่สุด

ที่แสดงไว้ข้างต้นคือตัวอย่างศัพท์และลักษณะที่พบได้ทั่วไปของ Futures ในการเทรดสัญญา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูคำอธิบายศัพท์การเทรด Futures และสถานการณ์การใช้งาน