Bitget App
เทรดอย่างชาญฉลาดกว่าที่เคย
ซื้อคริปโตตลาดเทรดFuturesCopyBotsEarn
พื้นฐานการเทรด
คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี

มือใหม่
2024-02-21 | 5m

บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจได้มากขึ้นในเรื่องของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis: FA) ในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีและวิธีการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพกับการวิเคราะห์ข้อมูลของ Bitget

กำหนดนิยามการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FA)

แนวทางที่เป็นที่คุ้นเคยกันมากกว่าซึ่งนักเทรดในตลาดการเงินแบบดั้งเดิมใช้กันคือการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis: TA) โดยอาศัยข้อมูลราคาในอดีตของสินทรัพย์เพียงอย่างเดียวในการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในตลาดคริปโตนั้น กลยุทธ์นี้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากสิ่งต่างๆ ดังนี้:

(i) สัดส่วนการครองตลาดของ Bitcoin ที่อยู่ในระดับสูง

มีหลายครั้งที่สัดส่วนการครองตลาดของ Bitcoin ลดลงไปเหลือราว 32% ซึ่งหมายความว่ามูลค่าตามราคาตลาดของ Bitcoin นั้นคิดเป็นอย่างน้อย 1 ใน 3 ของมูลค่าตามราคาตลาดคริปโตทั้งหมดและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ทั้งหมด การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับสินทรัพย์แต่ละรายการจึงต้องคำนึงถึงความผันผวนของราคา Bitcoin ด้วย ทำให้มีความยากลำบากมากขึ้น

(ii) ลักษณะที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของคริปโทเคอร์เรนซี

คริปโทเคอร์เรนซีเป็นสินทรัพย์ดั้งเดิม (Native Asset) ของเครือข่ายและโปรโตคอลแบบกระจายศูนย์ โดยเครือข่ายแบบกระจายศูนย์สามารถโฮสต์หลายโปรเจกต์ไว้บนบล็อกเชนของตนได้ จึงส่งผลให้มีการใช้งานเหรียญเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ คริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ยังมีอุปทานที่จำกัด อีกทั้งชุมชนก็มีบทบาทสำคัญ ทั้งโปรเจกต์และชุมชนควรมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน มิฉะนั้นมูลค่าของสินทรัพย์ดั้งเดิมจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาคือลักษณะของการระดมทุนแบบกระจายศูนย์ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าถึงโอกาสในการลงทุนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงหมายความว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็เป็นไปไม่ได้เลยเช่นกัน

(iii) ข้อมูลย้อนหลังไม่เพียงพอ

มีโปรเจกต์คริปโตใหม่ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งสามารถจัดการระดมทุน Crowdfunding ได้อย่างสะดวกสบายในรูปแบบของ ICO/IEO/IDO แน่นอนว่าในช่วงแรกเริ่มก็จะไม่มีข้อมูลย้อนหลังให้ค้นดูได้ และแม้ว่าจะมีการลิสต์โทเค็น/เหรียญ แต่การที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่เพียงพอเพื่อใช้คาดการณ์ราคาก็ยังคงไม่ใช่เรื่องที่น่าอภิรมย์นัก

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FA) นั้นจะใช้ตัวชี้วัดทางการเงินและสำหรับโปรเจกต์ที่แตกต่างออกไปเพื่อให้นักเทรดได้เห็นภาพการลงทุนแต่ละครั้งอย่างละเอียดและแม่นยำยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงนำมาใช้กับตลาดคริปโตที่มีหลากหลายแง่มุมได้มากกว่า ซึ่งก็แน่นอนว่าใช้ควบคู่กันไปกับการอาศัยการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ตัวชี้วัดทางการเงิน: ตัวชี้วัดทั่วไป

มีตัวชี้วัดทางการเงิน 2 ประเภทที่เป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ ตัวชี้วัดทั่วไปและตัวชี้วัด On-Chain โดยตัวชี้วัดทั่วไปนั้นเป็นตัวชี้วัดพื้นฐานที่เข้าใจได้ง่าย ช่วยนักเทรดในการตัดสินใจว่าจะซื้อคริปโทเคอร์เรนซีหรือไม่ ในขณะที่ตัวชี้วัด On-Chain จะให้ข้อมูลความแข็งแกร่งของบล็อกเชนที่ต้องการดูโดยละเอียด

(i) มูลค่าตามราคาตลาด

มูลค่าตามราคาตลาดคือมูลค่าตลาดทั้งหมดของบริษัทหรือโปรเจกต์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หากมีมูลค่าตามราคาตลาดที่สูง ก็จะได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนได้ง่ายขึ้น แต่หากมีมูลค่าตามราคาตลาดที่น้อยลงมา ก็บ่งชี้ว่ายังมีช่องว่างให้เติบโตได้อยู่ มูลค่าตามราคาตลาดของคริปโตคำนวณดังนี้:

มูลค่าตามราคาตลาด = ราคาปัจจุบัน * อุปทานหมุนเวียนปัจจุบัน

ดังนั้น มูลค่าตามราคาตลาดจึงเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนไหวในตลาด

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 0

คริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุด 5 อันดับแรก ที่มา: CoinMarketCap

(ii) ปริมาณ 24 ชั่วโมง

ปริมาณ 24 ชั่วโมงแสดงมูลค่าทั้งหมดของธุรกรรมในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญถึงสภาพคล่อง กล่าวคือ สามารถซื้อ/ขายสินทรัพย์นั้นๆ ได้ง่ายเพียงใด นักลงทุนจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในโปรเจกต์ที่มีปริมาณ 24 ชั่วโมงที่มากกว่าเนื่องจากมีการซื้อขายกันอย่างคึกคัก ส่วนสภาพคล่องที่ต่ำนั้นชี้ให้เห็นได้ว่าแม้เพียงธุรกรรมรายการเดียว ก็อาจส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ได้อย่างมหาศาล

(iii) ราคาต่อหน่วย

นักเทรดระยะสั้นให้ความสำคัญกับราคาต่อหน่วย (โดยมากแล้วเรียกกันว่า “ราคา”) เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการซื้อต่ำและขายสูง แต่ก็ยังใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคและให้ภาพรวมด้านความเชื่อมั่นของตลาดล่าสุดได้อีกด้วย

(iv) ความสัมพันธ์ของราคากับ Bitcoin

Bitcoin ถือกันว่าเป็นสินทรัพย์ “ปลอดภัย” (Safe Haven) ในตลาดคริปโต ยิ่งสินทรัพย์ดิจิทัลกับ Bitcoin มีความสัมพันธ์กันสูง ผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในวันที่ตลาดสดใสก็ยิ่งมีสูง นอกจากนี้ นักเทรดยังสามารถพัฒนากลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมโดยอิงจากตัวชี้วัดนี้ได้เช่นกัน

(v) กระแสไหลเข้า/ออกทั้งหมดของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน

กระแสไหลเข้าของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแสดงจำนวนเหรียญที่ฝากเข้ามาใน Wallet ของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน ขณะที่กระแสไหลออกของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแสดงจำนวนเหรียญที่ถอนออกไปจาก Wallet ของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะถอนสินทรัพย์ออกไปยัง Wallet ส่วนตัว (เพื่อถือ) เมื่อสภาวะตลาดไม่เป็นใจ แต่จะฝากเข้ามาใน Wallet ของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนมากขึ้นเมื่อต้องการที่จะเทรดให้สะดวก

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 1

ผลิตภัณฑ์การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีกระแสไหลออกรายสัปดาห์มากเป็นอันดับ 2 ของปี 2022

ในช่วงต้นเดือนเมษายน ที่มา: CoinShares

ตัวชี้วัดทางการเงิน: ตัวชี้วัด On-Chain

(i) จำนวน Address ที่แอคทีฟและจำนวนธุรกรรม

จำนวน Address ที่แอคทีฟเป็นจำนวน Address บนบล็อกเชนที่ไม่ซ้ำกันซึ่งทำธุรกรรมสินทรัพย์ใดๆ ในวันใดๆ ตัวชี้วัดนี้ไม่จำเป็นต้องหมายความถึงผู้ร่วมตลาดรายใหม่ แต่เป็นการชี้ให้เห็นว่ามีการใช้สินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น เมื่อดูในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สามารถอนุมานได้ว่าการที่จำนวน Address ที่แอคทีฟรายวันของ Ethereum มีมากขึ้นนั้นเป็นการตอบสนองต่อรอบขาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 2

Address ที่แอคทีฟรายวันของ Ethereum ตั้งแต่ปี 2017 ที่มา: YCharts

จำนวนธุรกรรมเป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่วัดระดับของกิจกรรมบนเครือข่ายใดๆ และในทำนองเดียวกันกับจำนวน Address ที่แอคทีฟ จำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นก็อาจสะท้อนถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่ขยายตัวขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่ควรใช้ความระมัดระวังเนื่องจาก 1 คนสามารถเป็นเจ้าของได้หลาย Address และโอนสินทรัพย์ระหว่างกันเองได้เพื่อเพิ่มยอดกิจกรรมเครือข่าย

(ii) ค่าธรรมเนียมธุรกรรม

นักเทรดที่แอคทีฟซึ่งทำธุรกรรมเป็นประจำจะต้องเผชิญกับค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่สูง ค่าธรรมเนียมธุรกรรมมหาศาลนี้เป็นผลโดยตรงจากความหนาแน่นของเครือข่าย ประกอบกับมูลค่าสินทรัพย์ดั้งเดิมของบล็อกเชน เช่น Ethereum ที่สูงเมื่อคิดเป็นรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่า Ethereum จะมีความสามารถในการทำธุรกรรมได้มากกว่า Bitcoin ประมาณ 4-5 เท่า แต่การขยายตัวของ DeFi ก็ได้ผลักดันค่าธรรมเนียม Gas ที่เป็น ETH ขึ้นไปสู่สถิติใหม่

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 3

ค่าธรรมเนียมธุรกรรมบนบล็อกเชน Bitcoin และ Ethereum ที่มา: CoinMetrics

(iii) อัตรา Hash

ตัวชี้วัดนี้ใช้ดูได้กับคริปโทเคอร์เรนซีแบบ Proof of Work เท่านั้น ซึ่งตัวที่มีชื่อโดดเด่นที่สุดคือ Bitcoin ในเครือข่าย Proof of Work นักขุดจะรับผิดชอบในการตรวจสอบยืนยันธุรกรรมและดำเนินการเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ภาระงานนี้ดำเนินการโดยแก้ไขโจทย์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะทางที่ทรงพลัง ข้อมูลการ Hash หมายถึงการค้นหาวิธีแก้ปัญหาสำหรับแต่ละโจทย์ ดังนั้นอัตรา Hash จึงเป็นการวัดกำลังการคำนวณทั้งหมดที่ใช้ในการประมวลผลธุรกรรม เครือข่ายที่ปลอดภัยจะมีอัตรา Hash ที่สูงกว่า และในกรณีของ Bitcoin ด้านล่างนั้น อัตรา Hash มีความสัมพันธ์เป็นบวกกับความยากในการขุด Bitcoin และมีแนวโน้มที่จะขยับในทิศทางเดียวกันกับราคา

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 4

อัตรา Hash และความยากในการขุดของ Bitcoin

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 5

อัตรา Hash ของ Bitcoin เทียบกับราคา Bitcoin (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ที่มา: BitInfoCharts

(iv) อัตราส่วนมูลค่าเครือข่ายต่อธุรกรรม (อัตราส่วน NVT)

ตัวชี้วัดนี้เดิมที Willy Woo เป็นผู้นำมาใช้กับ Bitcoin บางครั้งถูกขนานนามว่าเป็น “ค่า P/E ของคริปโทเคอร์เรนซี” สูตร NVT คำนวณได้ตามด้านล่าง:

NVT = มูลค่าตามราคาตลาด/ปริมาณธุรกรรม (ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ)

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ NVT อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่า 2 รูปแบบของเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย นั่นคือ กลุ่มสินทรัพย์ (มูลค่าตามราคาตลาด) และวิธีการชำระเงิน (ปริมาณธุรกรรม) ตามหลักการแล้ว NVT ควรคงที่หลังจากที่ตลาดมีทิศทาง (Bearish/Bullish) ชัดเจนแล้ว เนื่องจากแสดงให้เห็นเทรนด์การเติบโตที่ยั่งยืน หากค่าสูงเกินไป แสดงว่าเครือข่ายมีมูลค่าสูงกว่าที่ควรเป็นหรือ Overvalued (ไม่ได้มีการนำเหรียญไปใช้ให้เกิดประโยชน์) และหากค่าต่ำเกินไป แสดงว่ามีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรเป็นหรือ Undervalued

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 6

อัตราส่วน NVT ของ Bitcoin โดย Willy Woo ที่มา: Woobull Charts

(v) อัตราส่วนมูลค่าตลาดต่อมูลค่าที่รับรู้ (อัตราส่วน MVRV)

อีกตัวชี้วัดที่พยายามแสดงให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์คือ MVRV โดยชื่อนั้นก็ได้สะท้อนถึงสูตรอยู่แล้ว:

MVRV = มูลค่าตลาด/มูลค่าที่รับรู้

มูลค่าที่รับรู้จะวัดมูลค่าของเหรียญที่มีอยู่จริงในระบบเศรษฐกิจของเครือข่าย โดยพิจารณาจากราคาเมื่อมีการเคลื่อนย้ายครั้งล่าสุด ทำให้สะท้อนถึงมูลค่า “ที่เก็บรักษาไว้” ในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง การใช้มูลค่าที่รับรู้เป็นมูลค่ายุติธรรมและใช้มูลค่าตลาดเป็นค่าเบี่ยงเบน ทำให้ MVRV กะประมาณความสามารถในการทำกำไรของตลาดได้ ค่า MVRV ที่สูงหมายถึงว่ามีผลกำไรที่ยังไม่รับรู้ในระดับที่มีนัยสำคัญ ทำให้เป็นไปได้ว่านักลงทุนมีโอกาสขายเหรียญออกมาเพื่อล็อกกำไรตามราคา ณ ขณะนั้น ส่วนค่า MVRV ที่ต่ำกว่า 1 สะท้อนถึงการสะสมในช่วงตลาดหมีในระยะสุดท้าย

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 7

อัตราส่วน MVRV ของ Bitcoin โดย Willy Woo ที่มา: Woobull Charts

ตัวชี้วัดโปรเจกต์

ตัวชี้วัดโปรเจกต์ต่อไปนี้ช่วยให้นักเทรดประเมินประสิทธิภาพของโปรเจกต์ได้

ผู้สนับสนุนทีมงาน

หากสามารถเข้าไปดูข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในทีมบนเว็บไซต์ของโปรเจกต์ได้ ก็ควรเข้าไปดูรายละเอียดโปรไฟล์ของทีมงานเพื่อดูว่ามีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้มาก่อนหรือไม่ มีคุณสมบัติตามสิ่งที่ทำหรือไม่ มีจุดอ่อนที่เป็นไปได้หรือไม่ (เช่น ทีมการตลาดได้รับการยอมรับอย่างดี แต่ทีมนักพัฒนาดูเหมือนจะอ่อนทักษะ ทำให้เป็นข้อสังเกตที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง) อีกช่องทางคือสามารถเข้าไปดูในหน้า GitHub ได้เพื่อดูจำนวน Contributor และความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น หากมีการอัปเดตอยู่บ่อยๆ ก็ชี้ให้เห็นว่าทีมงานยังคงเดินหน้าพัฒนาโปรเจกต์อยู่

นอกจากนี้ โปรเจกต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชื่อดังก็น่าจะมีความน่าดึงดูดมากกว่า ผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียงถือได้ว่าเป็นผู้คัดกรองโปรเจกต์ดังกล่าว ทำให้นักลงทุนรายย่อยมีความมั่นใจได้มากขึ้น

Whitepaper

Whitepaper เป็นเอกสารแนะนำตนเองที่เน้นให้เห็นถึงฟีเจอร์หลักๆ ของโปรเจกต์ ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้นักลงทุนดู Whitepaper และเปรียบเทียบกับการพูดคุยเกี่ยวกับโปรเจกต์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น

(i) โซลูชันและคู่แข่ง

เพื่อความอยู่รอดในการแข่งขันทางธุรกิจ โปรเจกต์จะต้องเสนอและผลิตโซลูชันที่มีลักษณะเฉพาะหรือมีประสิทธิภาพสูงสุดขีด หรือต้องมีทั้งคู่ ซึ่งหากสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น หรือถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้นคือออกแนวคิดที่ไม่ซ้ำใครออกมา การทำความเข้าใจคู่แข่งเป็นส่วนสำคัญของประเด็นนี้

(ii) เศรษฐศาสตร์ของโทเค็นและการกระจาย

รูปแบบอุปทานและการกระจายของคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละตัวมีผลอย่างยิ่งต่อมูลค่า คริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่มีอุปทานจำกัดและ/หรือมีกลไกที่ทำให้เงินฝืด (Deflationary Mechanism) เพื่อควบคุมมูลค่าของตน ตามตรรกะแล้ว เหรียญหรือโทเค็นที่มีภาวะเงินเฟ้อ (Inflationary) ควรมีแผนการควบคุม เช่น การ Burn เหรียญ/โทเค็น หรือการลด Emission

การกระจายโทเค็นบ่งบอกถึงความสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ หากจัดสรรให้ทีมงานหรือผู้สนับสนุนมากเกินไป ชุมชนก็จะมีแนวโน้มน้อยลงที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทุนสาธารณะ ลดประสิทธิภาพทางการตลาด และทำให้สินทรัพย์ดั้งเดิมมีมูลค่าที่ลดลงได้ในเวลาต่อมา

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือกรณีการนำไปใช้งาน ยิ่งมีกรณีการนำไปใช้งานมาก มูลค่าสินทรัพย์ก็จะยิ่งสูง

(iii) Roadmap

Roadmap ที่สมเหตุสมผลจะการันตีประสิทธิภาพของโปรเจกต์ได้ในระดับหนึ่ง แทนที่จะให้คำมั่นสัญญาที่อาจจะรักษาไว้ไม่ได้ ทีมงานจะดำเนินการกำหนดแนวทางในระดับปานกลาง ทำให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ชุมชนผู้ถือ

มีตัวชี้วัดกิจกรรมของผู้ถือที่เป็นประโยชน์อยู่หลายตัว ซึ่งรวมไปถึงการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง, จำนวน Address ที่แอคทีฟ และจำนวน Address ที่ไม่ซ้ำกัน

คำว่า “ผู้ถือรายใหญ่” ในคริปโตหมายถึง Address ที่ถือมากกว่า 0.1% ของอุปทานหมุนเวียนของสินทรัพย์ ตัวชี้วัดด้านการกระจุกตัวจะติดตามการเปลี่ยนแปลงจำนวนเหล่านี้เพื่อให้นักเทรดได้เห็นความเชื่อมั่นของผู้ที่เป็นวาฬ นอกจากนี้ การเทรดรายการเดียวที่ Address เหล่านี้ทำนั้นสามารถส่งผลกระทบได้มากกว่าความเคลื่อนไหวของนักเทรดรายอื่นๆ เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาสินทรัพย์ จำนวน Address ที่แอคทีฟและที่ไม่ซ้ำกันเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนสภาพคล่องและความเคลื่อนไหวในเครือข่าย

ชุมชนมีบทบาทสำคัญในคริปโตเนื่องจากมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับระดับของการนำไปใช้งาน โดยทั้งจำนวนสมาชิกใน Telegram, ใน Discord, จำนวนผู้ติดตามใน Twitter, แฮชแท็ก ฯลฯ ล้วนเผยให้เห็นถึงผลประโยชน์สาธารณะในโปรเจกต์ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือการอ่านโพสต์และการพูดคุยที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้สามารถปลอมแปลงหรือโอ้อวดเกินจริงได้

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานกับ Bitget

Bitget เป็นศูนย์รวมครบวงจรสำหรับการลงทุนคริปโตของคุณ Bitget เปิดตัวในปี 2018 ปัจจุบันเป็นแพลตฟอร์มเทรดอนุพันธ์คริปโตที่ครองตลาด โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมมากมายสำหรับนักเทรดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Bitget USDT-M Futures สำหรับนักเทรดที่ระมัดระวัง, Bitget Coin-M Futures สำหรับผู้รู้ลึกเรื่องคริปโต และ Bitget Copy Trade สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างกระแสรายได้แบบ Passive Income ด้วยความเสี่ยงต่ำ

เราได้เปิดตัว Bitget Launchpad ไปเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อให้ผู้ใช้ของเราเข้าถึงรอบการลงทุนช่วงแรกเริ่มได้อย่างง่ายดาย โดยนักลงทุนสามารถอ่านสรุป Whitepaper ของโปรเจกต์ได้อย่างสะดวกบน Bitget Launchpad โดยตรงเพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนอยู่เสมอ

ผลิตภัณฑ์ Bitget Futures ผสานการทำงานเข้ากับการวิเคราะห์ข้อมูลโดย IntoTheBlock ซึ่งช่วยนักเทรดในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในวงการเท่านั้น

ในฐานะหนึ่งในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนอนุพันธ์คริปโตไม่กี่แห่งที่มีฟังก์ชัน Copy Trade แพลตฟอร์ม Bitget จึงดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ติดตามจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญ (“นักเทรด”) ก่อนที่จะคัดลอกรายการเทรด ดูคู่มือเกี่ยวกับ Bitget Copy Trade ของเราได้ที่นี่: ข้อมูลพื้นฐาน

โดยทั่วไป ผู้ติดตาม (ผู้ใช้ที่คัดลอกรายการเทรด ของนักเทรดที่มีประสบการณ์ใน Bitget Copy Trade) ควรพิจารณาดูข้อมูลจากตัวชี้วัดต่างๆ (ดูภาพด้านล่าง) เพื่อเลือกนักเทรดที่เหมาะสมที่สุด:

(i) ความนิยม

(ii) Equity ทั้งหมด: มูลค่าทั้งหมดในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USDT) ของสินทรัพย์ส่วนบุคคลของนักเทรด

(iii) ROI (ผลตอบแทนจากการลงทุน): แสดงประสิทธิภาพของกลยุทธ์ของนักเทรดโดยวัดผลการดำเนินงาน

(iv) PNL 3 สัปดาห์ทั้งหมด: ผลต่างทั้งหมดในบัญชีของนักเทรดในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (เป็น USDT)

(v) Win Rate 3 สัปดาห์: อัตราความสำเร็จของนักเทรดในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา คำนวณโดยการหารจำนวน Order ที่มีผลตอบแทนเป็นบวกด้วยจำนวน Order ทั้งหมด

(vi) PNL ทั้งหมด: ผลต่างทั้งหมดในบัญชีของนักเทรดตั้งแต่เปิดมา

(vii) ผู้ติดตามสะสม: จำนวนผู้ติดตามทั้งหมดตั้งแต่เปิดบัญชีมาของนักเทรด โปรดทราบว่าการยกเลิก Subscription แล้วกดติดตามใหม่จะนับเป็นผู้ติดตามใหม่ 1 คน

(viii) AUM (สินทรัพย์ภายใต้การจัดการ): สินทรัพย์ทั้งหมดของผู้ติดตามของนักเทรด 1 ราย

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคริปโทเคอร์เรนซี image 8

การจัดอันดับนักเทรดของ Bitget ตามความนิยม

ข้อสงวนสิทธิ์: ความคิดเห็นที่อยู่ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น บทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ที่ได้มีการเอ่ยถึง รวมถึงไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน การเงิน หรือการเทรด ผู้ใช้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองก่อนตัดสินใจลงทุน

แชร์
link_icon
หากยังไม่ได้เป็น Bitgetterของขวัญต้อนรับมูลค่า 6,200 USDT สำหรับ Bitgetter หน้าใหม่!
สมัครเลย
ทุกเหรียญโปรดของคุณ เรามีให้ครบครัน!
ซื้อ ถือ และขายคริปโทเคอร์เรนซียอดนิยม เช่น BTC, ETH, SOL, DOGE, SHIB, PEPE และอีกเพียบ ลงทะเบียนและเทรดเพื่อรับเซ็ตของขวัญสำหรับผู้ใช้ใหม่มูลค่า 6,200 USDT!
เทรดเลย