อธิบายเรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการเทรดได้ บทความนี้จะสรุปข้อมูลให้คุณฟังในเรื่องอินดิเคเตอร์คริปโตที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุด พร้อมวิธีการใช้งานเพื่อสร้างกำไร
ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ทางเทคนิค (TA) กับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FA)
เราเคยคุยกันไปแล้วก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FA) ซึ่งก็ทำให้เข้าใจตรงกันว่าในตลาดคริปโตนั้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FA) ช่วยให้เราเข้าใจในแต่ละเหรียญ/โทเค็นได้ละเอียดยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการทำกำไรในช่วง (ค่อนข้าง) ระยะสั้นนั้น นักเทรดจะชอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (TA) มากกว่า FA แม้จะมีข้อจำกัดอยู่ในตัวก็ตาม (ขาดข้อมูลย้อนหลัง สัดส่วนการครองตลาดที่สูงของ Bitcoin ฯลฯ)
ความแตกต่างหลักระหว่าง 2 แนวทางนี้อยู่ตรงที่ขอบเขตของการประเมิน โดย FA จะพิจารณาทุกอย่างที่มีผลต่อมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของสินทรัพย์ ในขณะที่ TA มักอาศัยกราฟ แพทเทิร์น และเทรนด์ในการคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคต กล่าวโดยสรุปคือ FA ใช้ข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ แต่ TA นั้นจะดูเพียงในเชิงปริมาณ
7 สมมติฐานและหลักการสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค
ทฤษฎีการวิเคราะห์ทางเทคนิคตั้งอยู่บนสมมติฐานพื้นฐาน 3 ข้อต่อไปนี้
สมมติฐานที่ 1: ตลาดไม่สนใจสิ่งใดๆ
สมมติฐานนี้เน้นให้เห็นถึงความแตกต่างทางแนวคิดของผู้ที่ชื่นชอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค แทนที่จะเหนื่อยกับ FA ผู้ที่ชื่นชอบการใช้ TA จะตาไวกับราคาในฐานะที่เป็นผลลัพธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด กล่าวคือ โดยธรรมชาติแล้ว ราคาของหลักทรัพย์สะท้อนถึงคุณภาพของงบการเงิน คุณภาพการบริหารจัดการของบริษัท ฯลฯ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับคริปโต ราคาจึงควรสะท้อนข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับอัตราการนำไปใช้งาน การกำกับดูแล อรรถประโยชน์ ชุมชน และความยากของการ Hash/อัตรา Emission
สมมติฐานที่ 2: ราคาเคลื่อนไหวเป็นเทรนด์เสมอ
ไม่ว่าจะในกรอบเวลาใดก็ตาม ราคายังคงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ TA เสมอ มือใหม่อาจพบว่าตัวเองฉงนกับแท่งเทียนและเส้นต่างๆ มากมายที่ปรากฏบนหน้าจอ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ทุกคนล้วนผ่านจุดนั้นกันมาแล้ว เมื่อคุ้นกับข้อมูลต่างๆ แล้ว ก็จะสามารถหาเทรนด์ได้เจอ เพราะราคามักขยับไปในทิศทางเดียวกันเมื่อเกิดเทรนด์
สมมติฐานที่ 3: ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
บางคนอาจแย้งว่าสมมติฐานข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดสำหรับ TA เนื่องจากปัจจัยด้านจิตวิทยา อารมณ์ความรู้สึก และเหตุผลนั้นล้วนเข้ามามีบทบาท เมื่อสถานการณ์มีปัจจัยและเงื่อนไขเหมือนกันกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เราก็น่าจะสามารถคาดการณ์ว่าจะเกิดผลเหมือนกันได้ แม้ว่าส่วนตัวแล้วเราจะไม่เชื่อ แต่การที่คนส่วนใหญ่เชื่อก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของตลาดไปในทางคล้ายกัน และนำไปสู่พฤติกรรมการเทรดที่คล้ายกัน
นอกเหนือจากหลักการที่ให้ไว้เหล่านี้ (ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นความจริงโดยไม่มีข้อพิสูจน์) ยังมีหลักการสากลอื่นๆ อีกที่เกิดขึ้นจากผู้ร่วมตลาดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนี้:
หลักการที่ 1: เทรนด์มีโอกาสไปต่อมากกว่าที่จะกลับตัว
ให้คิดว่าข้อนี้เป็นส่วนเสริมของสมมติฐานที่ 2 ก็ได้ เนื่องจากราคามักขยับไปในทิศทางเดียวกัน จึงน่าจับตามองการกลับตัว เพราะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการเพิ่มผลกำไรให้ได้สูงสุด อย่างไรก็ตาม เราขอแนะนำให้คุณใช้การเทรดแบบ Scalping และ Swing Trading ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสามารถรับประกันได้ว่าคุณจะทำเงินได้ง่ายตามเทรนด์
หลักการที่ 2: ตลาดสลับไปมาระหว่างช่วงราคาที่ขยายและหดตัว
ตลาดมักมีเทรนด์อยู่ 2 ประเภทคือเทรนด์แบบทางเดียว (Bullish/Bearish) หรือแบบ Sideways ปกติแล้ว กลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีในช่วงที่มีเทรนด์แบบทางเดียวจะใช้ไม่ได้ในช่วงที่มีเทรนด์แบบ Sideways และในทางกลับกันกลยุทธ์ Sideways ก็จะใช้ไม่ได้กับเทรนด์ทางเดียว Bitget เพิ่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด การเทรด Bitget Spot Grid และการเทรด Bitget Futures Grid ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สะท้อนได้อย่างชัดเจนถึงเครื่องมือที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในตลาดที่แกว่งตัวขึ้นลงไปมา เช่น Bitcoin ในขณะนี้ (แกว่งตัวที่ราวๆ US$20,000) แต่เราไม่แนะนำให้ใช้งานทั้งคู่นี้ในเทรนด์ Bullish/Bearish เต็มตัว
หลักการที่ 3: เทรนด์จบลงด้วยจุดสูงสุดในการซื้อหรือการขาย
ในที่สุด ราคาจะขึ้นไปถึงจุดสูงสุดในตอนที่เทรนด์สิ้นสุด ซึ่งจะเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงและมีปริมาณการเทรดพุ่งขึ้น ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น การขายหรือการสะสมกำลังสู่จุดสูงสุดนั้นดูเย้ายวนใจมาก เนื่องจากความเชื่อมั่นสุดขีดมักจะมาหลังพ้นจุดสูงสุดไปทันที
หลักการที่ 4: โมเมนตัมนำหน้าราคา
ลองหยุดคิดสักครู่ ไม่ว่าขณะนั้นตลาดจะอยู่ในระยะไหนก็ตาม ก็จะต้องเริ่มต้นด้วยเทรนด์แบบทางเดียว แล้วค่อยหมดแรงลงและเทรดกันแบบ Sideways จากนั้นจึงมีการกลับตัวบ้างเล็กน้อย ก่อนที่จะกลับสู่ทิศทางเดิม ในการนี้ ทางที่ดีมักจะเป็นการเดิมพันว่าเทรนด์จะยังดำเนินอยู่ต่อไป โดยเฉพาะหลังจากมีการเคลื่อนไหวรุนแรงเกิดขึ้น
สมมติฐานและหลักการทั้ง 7 นี้เป็นรากฐานของ TA เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าตัวเลขมันเยอะเหลือเกินจนรับมือไม่ไหว ให้ลองกลับมาทบทวนบทความนี้ดูอีกครั้ง แล้วทุกอย่างจะดีเอง
อินดิเคเตอร์พื้นฐานสำหรับนักวิเคราะห์ทางเทคนิคสายคริปโต
แม้ว่า TA มีลักษณะเป็นเชิง Quant อย่างมาก แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องคำนวณทั้งหมดด้วยตัวเองแต่อย่างใด โดยเครื่องมือตีกราฟที่นักเทรดทุกประเภทใช้กันกว้างขวางที่สุดก็คือ TradingView ซึ่งได้ผสานการทำงานเข้ากับ Bitget ด้วยเช่นกัน
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average: MA)
ราคาเฉลี่ยคำนวณโดยนำผลรวมของราคาในอดีตมาหารด้วยจุดราคาทั้งหมดที่รวมไว้ โดยมีการเพิ่มคำว่า “เคลื่อนที่” เข้ามาเพื่อชี้ว่าค่าเฉลี่ยของราคานั้นมีการคำนวณใหม่อยู่อย่างต่อเนื่องตามข้อมูลราคาล่าสุด ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่:
Simple Moving Average (SMA)
โดยพื้นฐานแล้วนี่คือสิ่งที่เราได้กล่าวถึงไปข้างต้น SMA จะใช้เพื่อหาระดับแนวรับและแนวต้าน เพื่อช่วยให้นักเทรดรู้จุดเข้าหรือจุดออกของตลาด
นี่คือตัวอย่างของ SMA 9 วัน หมายความว่าทุกจุดข้อมูลได้มาจากผลรวมของราคาปิดในช่วง 9 วันที่ผ่านมาหารด้วยจุดทั้งหมด
Exponential Moving Average (EMA)
EMA มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงล่าสุดมากกว่า เนื่องจากถ่วงน้ำหนักจุดราคาล่าสุดไว้มากกว่า
ลองเพิ่ม EMA ลงบนกราฟได้เลย จะเห็นในที่นี้ได้ว่า EMA ปรับตัวแนบกับแท่งเทียนมากกว่า SMA หมายความว่ามีการตอบสนองในอัตราที่มากกว่า
Moving Average Convergence Divergence (MACD)
ในขณะที่ SMA และ EMA เป็นเพียงการคำนวณตามราคา (Price Following) เท่านั้น แต่ MACD จะวิ่งไปตามเทรนด์ (Trend Following) กล่าวคือ เหมาะกับการหาเทรนด์มากกว่า โดย MACD คำนวณโดยนำ EMA 26 วัน (เส้นยาว) มาลบออกจาก EMA 12 วัน (เส้นสั้น)
เส้นสีน้ำเงินคือเส้น MACD หรือ MA เส้นเร็ว (MACD = EMA 12 วัน - EMA 26 วัน) ส่วนเส้นสีแดงคือเส้น Signal (MA เส้นช้า) ซึ่งก็คือ EMA 9 วันของเส้น MACD ขณะที่แท่งสีแดงนั้นเป็นฮิสโตแกรมของ MACD หรือส่วนต่างระหว่างทั้ง 2 เส้น
Relative Strength Index (RSI)
RSI มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนความแข็งแกร่ง/อ่อนแอทั้งในอดีตและปัจจุบันของสินทรัพย์ในช่วงเวลาการเทรดล่าสุด และเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีลักษณะตามเทรนด์ (Trend Following) ด้วย
ระดับ RSI ที่ใช้สังเกตกันทั่วไปมีอยู่ 2 ระดับ ได้แก่ 30 และ 70 (จากเต็ม 100) เมื่อมีค่าตั้งแต่ 30 ลงไปจะนับว่าเข้าเขต Oversold (มีแรงขายมากเกินไป) หมายถึงมีราคาต่ำกว่ามูลค่าจริง ดังนั้นการซื้อจึงถือว่าสมเหตุสมผล ในทางตรงกันข้าม หากมีค่าตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจะนับว่าเข้าเขต Overbought (มีแรงซื้อมากเกินไป) หมายถึงผู้คนให้ค่ากับสินทรัพย์นี้มากเกินไป
Average Directional Index (ADX)
เมื่อหาเทรนด์กันเจอแล้ว ก็ต้องมาดูว่าเทรนด์นั้นแข็งแกร่งเพียงใดด้วย จุดนี้เราจะใช้ ADX เข้ามาช่วย ซึ่งอิงจากการเคลื่อนไหวของราคาแบบมีทิศทาง ADX มีลักษณะคล้ายกับ RSI ตรงที่แสดงค่าตั้งแต่ 0-100 โดยค่าตั้งแต่ 25 ลงไปบ่งชี้ว่าไม่มีเทรนด์หรือเป็นเทรนด์ที่อ่อนแรง
ลองดูกราฟนี้กันเลย BGB ลงมาอยู่ในเขต Oversold (มีแรงขายมากเกินไป) ราว 10 วัน มีเทรนด์ที่แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งราคาของ BGB เด้งกลับและ RSI กลับขึ้นไปแตะ 30 อีกครั้ง
Accumulation/Distribution Line
อินดิเคเตอร์ตัวนี้มีลักษณะตามปริมาณ (Volume Following) เส้น Accum./Dist. วัดกระแสเงินทุนไหลเข้าและออกจากตลาด โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเทรด ในที่นี้ Accumulation (การสะสม) หมายความว่านักเทรดกำลังซื้อ ส่วน Distribution (การแจกจ่าย) หมายความว่านักเทรดกำลังขาย
ด้านบนเรามี MACD และ RSI ที่บ่งบอกว่า BGB มีเทรนด์ Bullish ซึ่งหนุนด้วย Accumulation ที่กราฟด้านล่าง
ข้อสงวนสิทธิ์: ความคิดเห็นที่อยู่ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น บทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ที่ได้มีการเอ่ยถึง รวมถึงไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน การเงิน หรือการเทรด ผู้ใช้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองก่อนตัดสินใจลงทุน
- Blockchain 101 - Layer1, Layer2 and Layer32024-12-20 | 5m